แนวทางการพัฒนาการบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • ชรินทร์ทิพย์ ธาดานิธิภิญโญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธดา สิทธิ์ธาดา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.32

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวังการบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารองค์กร   แห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 142 คน และครูผู้สอน จำนวน 142 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม                  และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย                        ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา                        สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 สภาพปัจจุบัน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการจัดระบบการบริหารองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการกลุ่ม                  ส่วนสภาพความคาดหวัง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการจัดระบบการบริหารองค์กร                  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการกระจายภาระงาน ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น                       3 ลำดับแรก คือ ด้านการกระจายภาระงาน (PNImodified = 0.594) ด้านการวินิจฉัยสั่งการ (PNImodified = 0.428) และด้านการประสานงาน (PNImodified = 0.343) ตามลำดับ 2) แนวทาง     การพัฒนาการบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 พบว่า สิ่งที่ควรพัฒนามากที่สุด คือ ด้านการกระจายภาระงาน โดยใช้แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม สอดคล้องตามความสามารถของบุคลากร เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดภาระงานตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละกลุ่มงานทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงบประมาณ ฝ่ายบริหารงานบุคคล และฝ่ายบริหารทั่วไป      ใช้วิจารณญาณและการวิเคราะห์ศักยภาพและความสามารถในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา                 แต่ละคน เพื่อให้งานที่มอบหมายนั้นตรงกับความสามารถของผู้ที่ได้รับมอบหมาย รองลงมา คือ                  ด้านการวินิจฉัยสั่งการ โดยมอบหมายงานอย่างเป็นระบบ เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ใช้ข้อมูล                    และสารสนเทศที่ทันสมัยในการบริหารองค์กร และใช้หลักการ PDCA ในระบบงานของสถานศึกษาทั้ง 4 ฝ่าย เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ                               และด้านการประสานงาน โดยเน้นการสร้างเครือข่าย นำเทคโนโลยีมาช่วยเป็นการเชื่อมโยงของกลุ่มคนหรือกลุ่มองค์กร เพื่อทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สร้างบุคลากรที่มีทักษะในการประสานงาน ใช้ระบบการสื่อสารที่ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย จัดให้บุคลากรในองค์กรทำงานสัมพันธ์และสอดคล้องกัน เพื่อให้เป้าหมายขององค์กรบรรลุตามที่กำหนดไว้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กานต์พิชชา ชูวงษ์. (2562). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7(2) : 106.

จินตนา ดีดวงพันธ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ชนะ สุทธิประภา. (2566). การบริหารเชิงกลยุุทธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่่น. ขอนแก่น.

ณรงค์ แผ่วพลสง. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะการการปรถมศึกษาแห่งชาติในเขตการศึกษา 11 ในทัศนะของครู. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยและประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพรส.

นุษรา โพธิ์พัฒนชัย. (2564). การศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงษธร หนูฤทธิ์. (2562). วัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 10(1) : 257.

พระครูนิวิฐธรรมานุศาสน์. (2564). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการเชิงพุทธของโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4. วารสารวิจัยวิชาการ. 4(2).

วรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และคณะ. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.

วริศรา คำเพ็ญ และคณะ. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์. 13(28) : 16.

วันชนก อาจปรุ. (2564). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคกลาง.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

วีรยา สัจจะเขตต์. (2564). การพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมประสงค์ ยะติน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของกองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่แจ้งวัฒนะ. วารสาร สมาคมนักวิจัย. 24(3) : 284.

สันติ โอฆะพนม และคณะ. (2566). การพัฒนาปัจจัยยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. 5(2) 91.

สิรินดา แจ่มแจ้ง. (2560). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุรัตน์ ดวงชาทม. (2559). การพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุรีย์พร บุญถนอม. (2560). องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580. (2561, ตุลาคม 8). ราชกิจจานุเบกษา, น. 56.

Garvin, D. A., Edmonson, A. C., & Gino, F. (2008). Is yours a learning organization? Harvard Business Review. 86. 109-115.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2024

How to Cite

ธาดานิธิภิญโญ ช., & สิทธิ์ธาดา ธ. (2024). แนวทางการพัฒนาการบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 153–168. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.32