การศึกษาการใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารงานงบประมาณ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชวนคิด มะเสนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.31

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, การบริหารงบประมาณ, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทาง การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 375 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า โรงเรียนควรมีการดำเนินการในแต่ละด้านดังนี้ หลักนิติธรรม ควรมีการอบรมและศึกษาคู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชีและพัสดุให้เข้าใจ หลักคุณธรรม ควรมีการจัดสรรงบประมาณตามจุดเน้น ภารกิจและความสำคัญของโรงเรียน หลักความโปร่งใส โรงเรียน ควรมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้คณะกรรมการสถานศึกษาทราบและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ หลักการมีส่วนร่วม ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงานงบประมาณ หลักความรับผิดชอบ ควรกำหนดภาระหน้าที่และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด้านงบประมาณที่ชัดเจน หลักความคุ้มค่า ควรมีคณะกรรมการติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการต่าง ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการปกครอง. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา, 116 (สิงหาคม 2542).

จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2560). ธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษากับความเป็นเลิศในผลลัพธ์ด้านบุคลากร. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 14(6) : 107-110

จารุวัฒน์ ปาสาโก, จิราภรณ์ ผันสว่าง และกฤตยากร ลดาวัลย์. (2566). การบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 7(1) : 37-50.

จิรวรรณ มีภูมิ และเชาวนี แก้วมโน. (2565). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13.

ทัศนีย์ ตาทิพย์. (2559). ศึกษาสภาพการดําเนินงานการบริหารการเงินตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดกําแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มัชฌิมา วงษ์จันทร์เพ็ง, สุวิมล โพธิ์กลิ่น และสุปิยา ทาปทา. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 6 (3) : 475-489.

วราภรณ์ ธนากูลจีรวัฒน์ และพรรณี สุวัตถี. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 9 (2) : 309.

วันทินี ภูธรรมะ. (2563). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วีระพงษ์ ก้านกิ่ง และชวนคิด มะเสนะ. (2017). สภาพ ปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 29. Journal of Ratchathani Innovative social Sciences. 1(1) : 47-48.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. ราชกิจจานุเบกษา. 127 (กรกฎาคม).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) 2020 ประเทศไทย. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: https://www.nacc.go.th/ files/article/attachments /26809121fcc59b1 65111ad494e9b86f2f5b8f4f. pdffbclid=IwAR3vSo0yUq2roujwywWWXQ4r UCowf6 yiuo2ceRp5JC_slY_. 2564. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. แนวทางการป้องกันและลดความสูญเสียงบประมาณจากการทุจริต. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2564.

สำเนียง มณีฉาย, ชุติปภา ทะสะภาค และณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตาบลในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 4 (1): 74.

แสงเทียน จิตรโชติ. (2560). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาสในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2024

How to Cite

มะเสนะ ช. . (2024). การศึกษาการใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารงานงบประมาณ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 133–152. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.31