แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.30คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน, การพัฒนาเด็กและเยาวชน, แนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเด็ก และเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตาม เพศ อายุ และสถานภาพสมรสของผู้ปกครอง และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เด็กที่มีอายุ 12-15 ปี และเยาวชนที่มีอายุ 16-17 ปี จำนวน 181 คน วิจัยโดยใช้แบบสอบถามนำผลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบเชิงพรรณนา และนำผลจากแบบสอบถามด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านละ 1 ข้อ มาสร้างแบบสอบถาม สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการศึกษา รองลงมา คือ ด้านสังคม และด้านสุขภาพอนามัย ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนจำแนกตามเพศไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุแตกต่างกันและจำแนกตามสถานภาพสมรสของผู้ปกครองแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ด้านสุขภาพอนามัย ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เชิญชวน ประชาสัมพันธ์ความรู้ข้อดีการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงผลดีการออกกำลังกาย จัดพื้นที่สำหรับออกกำลังกายในชุมชน และปรับปรุงพื้นที่ อยู่เสมอ ด้านการศึกษา ควรส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมในการรับทุนการศึกษา หาแหล่งทุนใหม่ๆ และประชาสัมพันธ์ ให้ทราบ และให้คำปรึกษาแนะนำ และด้านสังคม ควรจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้เด็ก และเยาวชนได้ร่วมทำกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม มอบรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติ
Downloads
References
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2563). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: (ม.ป.ท.).
ฐิติรัตน์ วิระขันคำ. (2561). คุณภาพชีวิตและและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 21(2) : 129-138.
เทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว. (ม.ป.ป.). ข้อมูลหน่วยงาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.bankhaimuenpheaw.go.th. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565.
เทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว. (2565). รายชื่อประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านค่าย หมื่นแผ้ว. ชัยภูมิ: สำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองชัยภูมิ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประสิทธิ์ เรืองแสงอร่าม. (2560). คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. Veridian E-Journal Silpakorn University. 10(2) : 546-557.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2559). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตครอบครัวด้วยโปรแกรมภาษารัก. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(2) : 233-246.
มานะ รุจิระยรรยง. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ถาวร กรณีศึกษา มูลนิธิครอบครัวเฟลิกซ์สุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(8) : 298-410.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 135 ตอนที่ 82ก. น. 30-38.
อุไรวรรณ รุ่งไหรัญ, ยุรนันท์ ตามกาล และคริษฐา อ่อนแก้ว. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุในครอบครัวแหว่งกลาง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.