โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.46คำสำคัญ:
อัตลักษณ์ของวัฒนธรรม, การบูรณาการความร่วมมือ, ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุมแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equations Modeling : SEM) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อประเมินความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์เส้นทาง และการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในกรุงเทพมหานคร ตามทฤษฎีสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ c2 = 93.90, df = 47, c2/df = 1.99, p-value = 0.0723, GFI = 0.972, CFI = 0.99, RMR = 0.011 และ RMSEA = 0.044 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อการบูรณาการความร่วมมือ ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (2) การบูรณาการความร่วมมือมีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (3) ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวมีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (4) อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีการบูรณาการความร่วมมือและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว เป็นตัวแปรส่งผ่าน
Downloads
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). ททท. เปิดแคมเปญ Amazing Thailand Go Local เร่งกระแสท่องเที่ยว 55 เมืองรอง หลังรัฐบาลประกาศลดหย่อนภาษี หวังรายได้สู่ชุมชนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท พร้อมสร้างการตฺมโตรอบด้านอย่างสดุล. กรุงเทพฯ : กลุ่มนโนบายและแผน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเพื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2563). รายงานการศึกษาจำนวนนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจรในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://-po.bangkokgo.th:90/Web2/SAT/0361.pdf. สืบค้น 18 มิถุนาคม 2566.
กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2556). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-2575). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bangkok.go.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนาคม 2566.
ชุติปภา หะสะภาค. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี. ปริญญานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Anholt, S. (2004). Brands and Branding. In Branding places and nation. edited by R. Clifton, J. Simmons, and S. Ahmad, Princeton. New Jersey : Bloomberg Press.
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G., (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. 3rd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.