ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายปั้นปูน : นวัตกรรมการธำรงอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผ้าทอและงานปูนปั้นเชิงพาณิชย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ประทีป พืชทองหลาง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา https://orcid.org/0000-0001-9000-2090
  • ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ศักดิ์สายันต์ ใยสามเสน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • วิภาดา ญาณสาร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.21

คำสำคัญ:

การธำรงอัตลักษณ์, งานปูนปั้น, เชิงพาณิชย์, ผ้าทอ

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการอนุรักษ์ผ้าทอและงานปูนปั้นแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการออกแบบผ้าทอและงานปูนปั้นระดับชุมชน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างนวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวผ้าทอและงานปูนปั้น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ รวม 250 คน ใช้วิธีสุ่มแบบง่ายผู้ให้ข้อมูลสำคัญการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ครูภูมิปัญญาทอผ้า สล่างานปูนปั้น ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 25 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการอนุรักษ์ผ้าทอและงานปูนปั้นแบบมีส่วนร่วมนั้น ได้รับการสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ นำมาฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะตน และสร้างสรรค์ต่อยอดให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนที่มีความแตกต่าง โดยใช้วัสดุและกรรมวิธีการผลิตของท้องถิ่น ผลิตได้จริง ใช้สอยดี เหมาะสม สวยงาม น่าสนใจและรูปแบบแปลกใหม่สะดุดตา โดยมีการร่วมมือกันระหว่างชุมชนในการผลิตชิ้นงานและมีการจัดกิจกรรมแสดงสินค้าและวัฒนธรรมประจำปีของชุมชน
  2. ศักยภาพชุมชนผ้าทอและงานปูนปั้นตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารจัดการหมู่บ้านที่มีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้มีรายได้ และคนในชุมชนมีความเป็นมิตร และความคิดเห็นของผู้ประกอบการอยู่ในระดับดีมาก โดยเห็นว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนเป็นจุดดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี และชุมชนมีงานฝีมือที่เป็นอัตลักษณ์
  3. แนวทางการสร้างนวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวผ้าทอและงานปูนปั้นควรทำผ่านแนวคิดการสื่อสารการตลาดแนวใหม่ (4E) ได้แก่ 1) Experience สร้างประสบการณ์ที่ดี 2) Exchange สร้างคุณค่าให้สินค้าและบริการ 3)  Everywhere เข้าถึงง่าย หลายช่องทาง และ            4) Evangelism  ทำให้ลูกค้าขาจรเป็นขาประจำ ผ่านคลิปวีดีโอสั้น 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ทอมือ ทอใจ    ผ้าทอเมืองลำพูน 2) ผู้หญิงทอผ้าเมืองลำพูน 3) งานปูนปั้น พุทธศิลป์เมืองหริภุญไชย 4) ผู้ชายปั้นปูน และ 5) ผ้าทอ งานปูนปั้น ชุมชนศิลปะสร้างสรรค์เมืองลำพูน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลพัฒนาจังหวัดลำพูน. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2567). จังหวัดลำพูน

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2555). การศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : กลุ่มหมู่บ้านผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประภัสสร แสนไชย. (2554). กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือของชุมชนบ้านดอนหลวง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอก-ระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปริญญา นาคปฐม และสิทธิชัย สวัสดิ์แสน. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครนายกภายหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน. 4(2) : 38-55.

ปิยารัช เชยวัดเกาะ. (2546). โครงสร้างทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สิ่งทอบ้านดอนหลวง จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แพรพิไล เลิศพงศ์พิรุฬห์, ศุภกรณ์ เชาว์วิวัฒนากุล, เอริน อุดมสวัสดิ์, วีร์รภัทรา วุฒิพรสกุลโชติ, ณธกร ฉ่ำทรัพย์ และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2564). แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาจากงานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร. วารสารพฤกภิรมย์. 3(1) : 93-107.

มานพ ชุ่มอุ่น. (2555). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนในผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ฤทัยรัตน์ แผนทอง. (2552). การเพิ่มผลผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มทอผ้าบ้านแม่แรง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วลัยลักษณ์ อริยสัจจเวศิน. (2552). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาผ้าจกคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิกานดา ศรีกอก. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือของหมู่บ้านอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยว บ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สคราญนิตย์ เล็กสุทธิ์. (2556). การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าฝ้ายทอมือที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมของกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านหนองเงือก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมบัติ สิงฆราช. (2554). การพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา : กลุ่มทอฝ้ายบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

สุธีมนต์ ทรงศรีโรจน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา: หมู่บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่.

สุรชัย จงจิตงาม และศิริวรรณ เกตตะพันธุ์. (2558). ปูนปั้นวัดเกาะกลาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน : การศึกษาเบื้องต้นด้านเทคนิค วัสดุ และความสัมพันธ์ที่มีต่อรูปแบบศิลปกรรม. วารสารวิจิตรศิลป์. 6(1) : 170-203.

สุริยา สนธิ. (2550). ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานทอ 4 ผ้า กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านดอนหลวง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนงนาฏ อุ่นเรือน. (2557). การศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการจัดการของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัยสาขาวิชาบริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อำนาจ ขัดวิชัย. (2562). วิเคราะห์เทวดาปูนปั้นเชิงพุทธศิลปกรรมในล้านนา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 8(2) : 191-204.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-04-2024

How to Cite

พืชทองหลาง ป., พืชทองหลาง ญ., ใยสามเสน ศ., & ญาณสาร ว. (2024). ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายปั้นปูน : นวัตกรรมการธำรงอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผ้าทอและงานปูนปั้นเชิงพาณิชย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 347–366. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.21