พฤติกรรมการเลียนแบบทางวัฒนธรรมและการรับวัฒนธรรมสมัยนิยมจากเกาหลีของนักศึกษาไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.43คำสำคัญ:
พฤติกรรมเลียนแบบ, พฤติกรรมเลียนแบบทางวัฒนธรรม, วัฒนธรรมสมัยนิยมบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการยอมรับวัฒนธรรมเกาหลีของนักศึกษาไทย เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาไทยด้านพฤติกรรมส่วนตัวดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เป็นนักศึกษาจำนวน 385 คน กลุ่มตัวอย่างไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จึงได้ใช้วิธีการคำนวณโดย ใช้สูตร W.G. Cochran (1953) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ที่ความคลาดเคลื่อน ± 5% เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence :IOC) อยู่ระหว่าง 0.7–1.00 มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.87 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าระดับการยอมรับวัฒนธรรมเกาหลีของนักศึกษาไทย ส่วนใหญ่รับวัฒนธรรมเกาหลีผ่าน ละครเกาหลี มีความถี่ในการรับชม/รับฟัง มากกว่า 6 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา การรับชม/รับฟัง มากกว่า 3 - 4 ชั่วโมง /ครั้ง ติดตามภาพยนต์ ละคร และเพลง เป็นระยะเวลา 3 – 4 ปี รับชม ภาพยนตร์, ละคร (ซีรีย์), เพลงเกาหลีจากช่องทาง แอพพลิเคชั่น และชื่นชอบประเภทสืบสวนและโรแมนติก ติดตามเพราะชื่นชอบนักแสดงนํา จึงสรุปได้ว่านักศึกษาไทยยอมรับวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีจากการชมภาพยนต์และซีรีย์ (ละครเกาหลี) ร่วมกับชื่นชอบในตัวนักแสดงนำจึงเกิดการยอมรับการใช้ชีวิตปกติตามแบบภาพยนต์และนักแสดงเปลี่ยนวิถีวัฒนธรรมเดิม ๆ ไปรับวัฒนธรรมใหม่ๆ ตามสมัยนิยม ไม่ใช่การเปลี่ยนวัฒนธรรมหลักในการดำรงชีวิต ฉะนั้นผู้ปกครองและครูอาจารย์ควรทำความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
Downloads
References
จินดา จำเริญ. (2545). สาระน่ารู้เกี่ยวกับเกาหลี. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ชลนิภา รุ่งเรืองศร และจารุณี มุมบ้านเซ่า (2562). กระแสการชื่นชอบศิลปินเคป๊อป (K-POP) เกาหลีในประเทศไทย. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นทิพา บุษปวรรธนะ และนาวิน วงศ์สมบุญ. (2563). ความสำเร็จในการเผยแพร่กระแสวัฒนธรรมเกาหลี (Korean Wave): บทบาทของรัฐบาลและอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พัฒนา กิติอาษา.(2546). ทองถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้งเฮาส.
เสมียนอัคนี (2564).คนไทยสมัย ร. 4 หลงใหล “L-POP” หนักหนา เคยนิยมกันมาก่อน K-POP ฮิตกันสมัยนี้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https: //www.silpa-mag.com/Culture/article_74832. สืบค้น 12 สิงหาคม 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.