การสืบทอดศิลปะการแสดงซอของบัวซอน ถนอมบุญ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.42คำสำคัญ:
การสืบทอด, ศิลปะการแสดงซอล้านนา, บัวซอน ถนอมบุญบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาการสืบทอดการแสดงซอของบัวซอน ถนอมบุญ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และสอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง ใช้แนวคิดเรื่องการสืบทอดวัฒนธรรมเป็นกรอบคิดในการศึกษา โดยมองเรื่องบุคคล พื้นที่ และเวลา ในการสืบทอดศิลปะการแสดงซอ
ผลการศึกษาพบว่า การสืบทอดศิลปะการแสดงซอของ บัวซอน ถนอมบุญกระทำผ่านแนวคิดการสืบทอดทางวัฒนธรรม ผ่านการแสดง การสร้างสรรค์บทประพันธ์ซอ การสอนและการบรรยายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งการเผยแพร่ผลงานการแสดงผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ บัวซอนถนอมบุญ ได้รับความรู้ศิลปะการแสดงซอในหลายช่วงวัย เริ่มต้นจากวัยเด็กที่เรียนรู้และฝึกฝนการแสดงซอจากแม่ครูคำปัน จากนั้นได้เข้าสู่อาชีพช่างซอ และมีผลงานการแสดงซอ ผ่านสื่อและการอัดแผ่นเสียง ต่อมาบัวซอน ถนอมบุญ ได้หยุดพักการแสดงซอเพื่อสั่งสมความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมะ หลังจากนั้นได้กลับมาสู่วงการซอ อีกครั้ง เมื่ออายุ 45 ปีและเริ่มมีบทบาทใหม่ในฐานะแม่ครูซอที่มีชื่อเสียง การสืบทอดศิลปะการแสดงซอของบัวซอน ถนอมบุญปรากฎในหลายบทบาท คือ บทบาทในฐานะเป็นช่างซอที่มีทักษะความสามารถด้านการขับซอจนได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทยและศิลปินแห่งชาติ และกลายเป็นแรงบันดาลใจด้านการขับซอแก่คนรุ่นใหม่ บทบาทในฐานะต้นแบบครูภูมิปัญญาด้านการขับซอล้านนาทั้งด้านการประพันธ์บทซอและด้านการแสดงการขับซอล้านนา รวมถึงบทบาทการถ่ายทอดและเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงซอผ่านพื้นที่สื่อ เช่น ผามซอที่มีผู้คนมาชมการแสดงของแม่ครูบัวซอน สื่ออนาล็อกทั้งรายการวิทยุโทรทัศน์และการอัดแผ่นเสียง และสื่อดิจิทัลที่มีการเผยแพร่การแสดงซอผ่านสื่อออนไลน์ ผลการศึกษาก่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับการสืบทอดศิลปะการแสดงซอซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสืบทอดศิลปะการแสดงของล้านนาแขนงอื่น เพื่อเป็นการรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมของล้านนาให้ยั่งยืน
Downloads
References
กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม. (2557). เปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ นางบัวซอน ถนอมบุญ. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
จันทร์เพ็ญ ชาติพันธ์. (2530). การรับข่าวสารด้านจริยธรรมจากสื่อพื้นบ้านประเภทซอของประชาชนอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2556). การสืบทอดทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:// nattawats.blogspot.com/ 2013/04/cultural-inheritance.html. สืบค้น 15 เมษายน 2556.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒมากุล. (2539). ความหมายและลักษณะของการเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน. ที่ระลึกงานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภูมิภาค ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทับทิม เป็งมล. (2564). กระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ในกลุ่มเด็กและเยาวชนพื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนบ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน
วิทวัส ทิโน. (2564). ตามรอยช่างซอล้านนาในอดีต. กรุงเทพฯ : บริษัททริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
ศุภนิจ ไชยวรรณ. (2547). กระบวนการสืบทอดเพลงซอพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิริกร ไชยมา. (2543). ซอ: เพลงพื้นบ้านล้านนา ภูมิปัญญาชาวเหนือ. แพร่ : หจก.แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
สุรสิงห์สำรวม ฉิมพะเนาว์. (2527). คลองเจือแห่งพระเจ้ากือนา : ม.ป.พ, ม.ป.ป
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2551). หนังสือที่ระลึกเปิดศูนย์เรียนรู้ซอล้านนา บัวซอน เมืองพร้าว. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.
อมรา พงศาพิชญ์. (2547). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม : กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพิน ลือพันธ์. (2544). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมบทซอของบัวซอน เมืองพร้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.