ปัจจัยที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนนารีนุกูล

ผู้แต่ง

  • กัว ซู่ เฟิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รัตนะ ปัญญาภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://orcid.org/0000-0001-7801-9340

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.5

คำสำคัญ:

ปัจจัย, แรงบันดาลใจ, ภาษาจีน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีน โดยวิเคราะห์ว่าแรงบันดาลใจใดมีผลต่อการเลือกเรียนภาษาจีนมากที่สุดและแนวทางการสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีนอย่างไร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เป็นการนำวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนารีนุกูล. แต่ละชั้นเรียนได้เรียนภาษาจีนมี จำนวน 1 ห้อง ได้แก่ นักเรียนที่เลือกเรียนภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 4 จำนวน 34 คน.มัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 22 คน  มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน รวมจำนวนทั้งหมด 86 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนที่เรียนภาษาจีนเท่านั้น และเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์จำนวนทั้งหมด 38 คน จากนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาจีน ในภาคเรียนที่ 1/2566 ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ68.6  ระดับการศึกษาผู้เรียนมากที่สุดเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 4 ส่วนใหญ่ไม่มีเชื้อสายจีน ร้อยละ83.7 มีเชื้อสายจีนของครอบครัว  ร้อยละ 39.5  ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนภาษาจีน ได้แก่  (1) ด้านสถานศึกษา มากที่สุดคือครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการสอนภาษาจีน ค่าเฉลี่ย 4.26 (2) ด้านสังคม  มากที่สุดคือภาษาจีนกำลังเป็นกระแสนิยมของสังคมปัจจุบัน ค่าเฉลี่ย 3.85 (3) ด้านครอบครัว มากที่สุดคือความคาดหวังจากครอบครัว  ค่าเฉลี่ย 2.77 (4) แรงบันดาลใจภายใน มากที่สุดคือความภูมิใจในตนเองที่ได้พัฒนาและเรียนรู้ภาษา ใหม่ๆ ค่าเฉลี่ย 4.21

         แนวทางในการส่งเสริมแรงบันดาลใจทำให้รู้แนวทางในการส่งเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในการเลือกเรียนภาษาจีน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษาของนักเรียน และสามารถนำผลไปปรับปรุง วางแผนในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เขียน ธีระวิทย์ และเจีย แยน จอง. (2543). ความสัมพันธ์ไทย-จีน เหลียวหลังแลหน้า. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย สันติวงษ์. (2535). องค์การและการบริหารการศึกษา การจัดการแผนใหม่. พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช .

ธิดา หึงอยู่. (2559). แรงจงใจในการเลือกรียนภาษนของนักศึกษา คณะอักษรศาสตร์ สาขาภาษาและวรรณกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม : สาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นงนุช สีสันต (2539). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคบังคับในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชัย แก้วบุตร. (2559). ความสนใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนวิชาภาษาจีน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(23) : 27-38.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.

สุวรรณ เดียงหิรัญถาวร. (2551). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เหว๋ย อู๋ และวัลลภา เฉลิมวงศาเวช. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสองภาษา ก. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 14 (1) : 408-422.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-04-2024

How to Cite

ซู่ เฟิ่น ก. ., & ปัญญาภา ร. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนนารีนุกูล. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 63–74. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.5