การประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.17คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, งานบำรุงรักษา, การบริหารจัดการ, ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษฉลองรัชบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการของทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช 3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศต่อการบริหารจัดการของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้งานในระบบ SAP training course และปัจจุบันยังคงใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับการบำรุงรักษา จำนวน 23 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87 มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ร้อยละ 78.3 ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 73.9 ตำแหน่งการรับผิดชอบงานเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานคร ร้อยละ 56.5 และ มีตำแหน่งการรับผิดชอบงานเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาทางพิเศษฉลองรัฐ ร้อยละ 30.4 มีระยะเวลาในการทำงานโดยเฉลี่ย 5-10 ปี ร้อยละ 56.6 รายได้เฉลี่ย 25,001 – 35,000 บาท ร้อยละ 39.1 ความถี่ในการใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานมีการใช้งานทุกวัน ร้อยละ 87 เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 60.9
2) ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการในปัจจุบันของกองบำรุงรักษาทางของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช พบว่าผลรวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.49 (S.D. = 0.591) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้วยมากที่สุดอยู่ในด้านงานป้ายแนะนำจราจร ค่าเฉลี่ย 4.55 รองลงมา ได้แก่ ด้านการซ่อมบำรุงและค่าใช้จ่ายของผิวจราจร ค่าเฉลี่ย 4.50 และด้านงานกำแพงกั้นเสียง ค่าเฉลี่ย 4.43
3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศต่อการบริหารจัดการของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช ผลรวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.56 (S.D. = 0.520)
4) การศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศต่อการบริหารจัดการของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาหลักเกี่ยวกับด้านการซ่อมบำรุงและค่าใช้จ่ายของผิวจราจร เนื่องจากมีการกำหนดรอบการซ่อมแซมที่ไม่ชัดเจน และจะตรวจสอบเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพ จึงทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาควรพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะสามารถประเมินและทำนายอายุของเส้นทางจราจร ก่อนที่จะเกิดปัญหาที่รุนแรง รวมถึงมีการเพิ่มความถี่ในการดูแล รักษา และปรับปรุงทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช
Downloads
References
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานประจำปี 2565 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.exat.co.th. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2566.
กรรณิการ์ สิทธิชัย และสันติ ภูริภักดี. 2561. การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s ของ McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 11(3) : 1419-1435.
ทรงศิริ โตเลียง. (2560). การออกแบบระบบเก็บข้อมูลการร้องเรียนของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยใช้หลักการสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic information system; GIS). สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
เรวดี มาขุนทด. (2552). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคคลโรงเรียนด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาอิสระ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สนั่น หวานแท้. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและการสืบค้นสำหรับการบริหารงานบุคคล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุชาดา กีระนันทน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกกมล เอี่ยมศรี. (2563). กรอบแนวคิด 7s McKinsey. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://eiamsri.wordpress.com/2011/07/15/กรอบแนวคิด-7s-mckinsey/. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2566.
เอกสิทธิ กระจ่างลิขิต. (2555). การบำรุงรักษาทางหลวงชนบทและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนใกล้เคียงทางหลวงชนบทจังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.