การผลิตผักอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรในเขตนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • วงค์สวรรค์ วงศ์ไกสอน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กอบลาภ อารีศรีสม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พิณนภา หมวกยอด คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วีณา นิลวงศ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เรืองชัย จูวัฒนสำราญ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ภาวิณี อารีศรีสม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.13

คำสำคัญ:

ผักอินทรีย์, การยอมรับ, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร 3) การยอมรับการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร กาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ในพื้นที่นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 175 ราย ด้วยการจับสลากหมายเลขรายชื่อเกษตรกร การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย 15 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.9 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 36.6 มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 37.7 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอื่นนอกจากการปลูกผักอินทรีย์ ร้อยละ 66.9 เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกผักอินทรีย์ มาแล้ว 6-10 ปี ร้อยละ 40.6 ก่อนทำการปลูกผักอินทรีย์เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกผักมาก่อน ร้อยละ 56.6 เกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ ร้อยละ 99.4 ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของพื้นที่ในการเพาะปลูกผักอินทรีย์ ร้อยละ 89.7 มีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 72,867,485 - 97,156,000 กีบ/ปี ร้อยละ 29.1 โดยเป็นรายได้จากการปลูกผักอินทรีย์ มากกว่า 19,431,685 กีบขึ้นไป/ปี ร้อยละ 76.0 ใช้ทุนของตนเองในการปลูกผักอินทรีย์ ร้อยละ 84.0 และมีภาระหนี้สินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 24,289,000 กีบ/ปี ร้อยละ 65.1 เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์ในระดับดี ส่งผลให้เกษตรกรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการผลิต เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเน้นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในพื้นที่ มากกว่าการนำเข้ามาจากภายนอกพื้นที่ เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ส่วนใหญ่มีการยอมรับในการปฏิบัติด้านการผลิตผักอินทรีย์ ร้อยละ 100 ส่วนปัญหา และอุปสรรค ของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถแบ่งได้ 6 ประเด็น ได้แก่ ระบบการควบคุมในด้านเทคนิคการผลิต ระบบควบคุมด้านคุณภาพและมาตรฐาน การตลาด ระบบบัญชีและการเงิน สินเชื่อ และการคุ้มครองและบริหารองค์กร

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมปลูกฝัง. (2559). แผนดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ ปี 2025 วิสัยทัศน์ถึงปี 2030. นครหลวงเวียงจันทน์ : กระทรวงเกษตรและป่าไม้.

จอห์นนี่ หลวงผ่าน, พุฒิสรรค์ เครือคํา, ปิยะ พละปัญญา และกอบลาภ อารีศรีสม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารผลิตกรรมการเกษตร. 4(2) : 116-127.

ธนภัทร ขาววิเศษ. (2563). การยอมรับเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ยิ่งลักษณ์ กาญจนฤกษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 35(1) : 86-102.

สรธน ธิติสุทธิ และ พุฒิสรรค์ เครือคํา. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการรับการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกร ในตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36(3) : 86-95.

สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเกษตรรายย่อย จังหวัดนครสวรรค์. Thai Journal of Science and Technology. 8(6) : 596-608.

แสงพะจัน สอนทะวิไล. (2562). 5 แนวทางเพื่อพยุงการผลิตผักอินทรีย์. กระทรวงเกษตรและป่าไม้. สปป. ลาว.

Kongsom, W. and Kongsom, C. (2016). Consumer behaviour and knowledge on organic products in Thailand. International Journal of Economics and Management Engineering .10(8) : 2602-2606.

Willer, H. and Lernoud, J. (2016). The world of organic agriculture. Statistics and emerging trends In (pp. 340). Frick – Switzerland : Research Institute of Organic Agriculture FiBL, Frick and IFOAM

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York : 3.S.l. Harper International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-04-2024

How to Cite

วงศ์ไกสอน ว., อารีศรีสม ก., หมวกยอด พ., นิลวงศ์ ว., จูวัฒนสำราญ เ., & อารีศรีสม ภ. (2024). การผลิตผักอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรในเขตนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 189–208. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.13