ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำระดับไร่นาเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืนในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ศรัทธาเทพ ธรรมจักร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กอบลาภ อารีศรีสม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วีณา นิลวงศ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ภาวิณี อารีศรีสม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.16

คำสำคัญ:

การจัดการน้ำระดับไร่นา, การเกษตรแบบยั่งยืน, การจัดการทรัพยากรน้ำ

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมของเกษตรกร และ ระดับความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการจัดการน้ำระดับไร่นา        2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการจัดการน้ำระดับไร่นา และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการน้ำระดับไร่นาเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานบ้านเวินต้นแหน เมืองไซบุรี แขวงสะหวันนะเขต จำนวน 282 ราย ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการน้ำระดับไร่นา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยอยู่หมู่บ้านต้นแหน ร้อยละ 44.3 เป็นเกษตรกรผู้ใช้น้ำกลุ่มขาวพอน ร้อยละ 14.5 ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 71.3 มีอายุเฉลี่ย 49.94 ปี มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 42.6 สถานภาพสมรส ร้อยละ 82.3 รายได้เฉลี่ย 543,000 กีบ/ต่อเดือน มี พื้นที่ทำการเกษตรมากกว่า 5,001 ตารางเมตร ร้อยละ 57.4 ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีพื้นที่ถือครองที่ดิน เนื่องจากที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์สืบทอดมรดก ร้อยละ 71.6 เป็นสมาชิกสมาคมผู้ใช้น้ำมาเป็นระยะเวลานาน 31-40 ปี ร้อยละ 45.7 และมีพื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่อยู่กลางคลองน้ำชลประทาน ร้อยละ 53.2 ในด้านระดับความรู้ความเข้าใจในการจัดการน้ำระดับไร่นาของเกษตรกร พบว่ามีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.77 เนื่องจากเกษตรกรผู้ใช้น้ำยังขาดรูปแบบวิชาการในด้านการจัดการน้ำระดับไร่นา ไม่ได้รับการฝึกอบรมทางวิชาการอย่างทั่วถึง ไม่ค่อยมีการศึกษาดูงานนอกพื้นที่จึงทำให้ระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำระดับไร่นาไม่ดีเท่าที่ควร เกษตรกรผู้ใช้น้ำมีแนวทางการปฏิบัติการจัดการน้ำระดับไร่นาตามความเคยชิน ซึ่งอาจดำเนินการปฏิบัติมาแบบรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ส่งผลต่อระดับความรู้ในปัจจุบัน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการน้ำระดับไร่นา พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ รายได้ ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการจัดการน้ำระดับไร่นาของการปลูกข้าว และ รูปแบบการจัดการน้ำระดับไร่นาของเกษตรกร ในด้านปัญหาและอุปสรรคพบว่าเกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ และการจัดการน้ำระดับไร่นามากที่สุด โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการน้ำระดับไร่นา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบ และการประเมินผล ควรมีการสร้างกฎระเบียบระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตาม เนื่องจากเป็นกฎระเบียบที่ร่วมกันคิด ในด้านการจัดการน้ำ เกษตรกรภายในกลุ่มควรมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม โดยมีผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้ามามีส่วนร่วมหลักในการประชุม ควรมีความชัดเจนในการชี้แจ้งประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรับฟังปัญหาของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ข้อมูลพื้นฐานต่างประเทศ. (2564). สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/01/Lao_2022.pdf. สืบค้น 30 มิถุนายน 2566.

เทียนทอง จันดาลาสาน, กิติชัย รัตนะ และวิชา นิยม. (2557). การมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำในการจัดการน้ำชลประทานของโครงการชลประทานถิ่นเที่ยงใต้ เมืองปากงึม นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการจัดการป่าไม้. 8(15) : 53-67.

พัดสะหวัน ไชยะวง และบัญชา ขวัญยืน. (2556). การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการชลประทาน กรณีศึกษา โครงการหนองแดง อำเภอเมือง จังหวัดสาระวัน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2(1) : 27-38.

ศุภชัย วรรณเลิศสกุล. (2550). เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน: โอกาสและอุปสรรคสำหรับประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุกิตติยา บุญหลาย และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืนกรณีศึกษา : ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 10(2) : 1771-1784.

สาธิต สื่อประเสริฐสุขชนา และวัชร อรุณรัตน. (2558). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและภัยแล้ง (Water resources management and drought). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://dwr.go.th/uploads/file/article/2015/article_th-16082015-104440-394136.pdf. สืบค้น 19 มิถุนายน 2566.

Epprecht, M., Bosoni, N. and Hayward, D. (2018). Urbanization processes in the Lao PDR. Centre for development and environment. University of Bern. [Online]. Available : https://www.shareweb.ch/site/PovertyWellbeing/currentpovertyissues/Documents/Lao_Urbanization_ Study_CDE_final.pdf Retrieved 19 June 2023.

Sawathee, P. (1998). Sampling method for research. NIDA Development Journal. 38(3) : 103-130.

Vongmany, O., Watanabe, K.N., Mizunoya, T., Kawase, M., Kikuchi, A., Yabar, H., Higano, Y., Sombounsack, N and Phounpakon, O. (2018). Sustainable Water Management under Variable Rainfall Conditions in River Communities of Champhone District, Savannakhet Province, Lao PDR. Journal of Sustainable Development. 11(3) : 108-122.

Water Environment Partnership in Asia. (2021). Outlook on Water Environmental Management in Asia. [Online]. Available : https://wepa-db.net/wp-content/uploads/2023/02/WEPA_outlook2021_e.pdf. Retrieved 30 June 2023.

Water Environment Partnership in Asia. (2023). Water Environment in Asia. [Online]. Available : https://www.env.go.jp/en/water/wq/wepa_broc.pdf. Retrieved 19 June 2023.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York : 3.S.l. Harper International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-04-2024

How to Cite

ธรรมจักร ศ., อารีศรีสม ก., นิลวงศ์ ว., คงธนจารุอนันต์ ร., ท้าวแก่นจันทร์ น., & อารีศรีสม ภ. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำระดับไร่นาเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืนในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 257–276. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.16