แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร พุทธขิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ชาตรี เกษโพนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สิริพัฒถ์ ลาภจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.1

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้, แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของชุมชนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต 3) เสนอแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ การวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บแบบสัมภาษณ์เจ้าของแหล่งเรียนรู้ จำนวน 6 คน และสนทนากลุ่มกับเจ้าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ผู้นำชุมชน ตัวแทนครู และตัวแทนชาวบ้าน รวมจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับตัวแทนประชาชน จำนวน 379 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัย พบว่า 1) แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลตานี มีเกษตรกรผู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้กับเกษตรทฤษฎีใหม่   มีการจัดการแหล่งเรียนรู้โดยจัดสรรพื้นที่ การจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การเพาะปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และจัดจำหน่ายผลผลิต กระทั่งเป็นต้นแบบสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนของตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 5 แห่ง 2) ระดับความคิดเห็นของประชาชนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.95) แสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนเห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้  ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.99)  3) แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้บูรณาการจัดการเรียนรู้พบว่า แนวทางการจัดการ คือ การบริหารทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ โดยพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนาหลักสูตร โครงการกิจกรรม คู่มือแหล่งเรียนรู้ แผ่นพับ เป็นต้น จากผลการประเมินสื่อ สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนโดยการสอดแทรกเนื้อหาลงในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและถอดบทเรียนจากความสำเร็จที่เกิดขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2560). การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พระดนัยภพ ชุติธมฺโม (เสาะพบดี). (2563). บทบาทของเทศบาลตำบลในการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 79.

ศุภวัฒน์ เสาเงิน. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองรี ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสกสรรค์ สนวา และสุพัฒนา ศรีบุตรดี. (2560). การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์. 19(1) : 153–168.

องค์การบริหารส่วนตำบลตานี. (2564). รายงานการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตานี ประจำปี 2564. สุรินทร์ : สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตานี.

Greedis Goods. (2564). สูตร Taro Yamane สำหรับคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : https://greedisgoods.com/taro-yamane/. สืบค้น 27 ตุลาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-01-2024

How to Cite

พุทธขิณ ณ., เกษโพนทอง ช., & ลาภจิตร ส. (2024). แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 1–18. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.1