ความสุขแห่งตน

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิ์ ขันศิริ นักวิชาการอิสระ
  • ปุณณรัตน์ พิงคานนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://orcid.org/0000-0002-1876-1604

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.64

คำสำคัญ:

ความสุข, นิยามความสุข, ปัจจัยความสุข, ความสุขแห่งตน

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการ ความสุขแห่งตน มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรม สังเคราะห์และสร้างกรอบความรู้ในด้านความสุข เพื่อจุดประกายให้ผู้คนในสังคมนำข้อมูลจากบทความนี้ไปเป็นแนวทางในการสื่อสารกับตนเอง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ ก่อให้เกิดความเข้าใจในนิยามความสุขของตนเองว่ามีความหมาย ปัจจัย กระบวนการ ขอบเขต เหมือนหรือแตกต่างกับองค์ความรู้ที่ได้เคยรับรู้มาอย่างไร โดยการทบทวนวรรณกรรมด้านความสุขในครั้งนี้ พบว่า ความสุข มีปัจจัยและองค์ประกอบมากมาย มีหลายรูปแบบ แตกต่างไปตามปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์อันดีกับผู้คนรอบข้าง สถานที่ เวลา วัฒนธรรม รวมถึงความต้องการของแต่ละบุคคล ความสุขเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม เป็นความต้องการ “เป็น” หรือเป็นความต้องการ “มี” แต่เมื่อสมหวังแล้ว ความสุขนี้อยู่ได้ไม่นานก็หมดไป และจะเกิดความต้องการใหม่ ๆ ไม่หยุดนิ่ง                                        องค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ สามารถวัดความสุขได้หลายวิธี ได้แก่ การวัดคลื่นไฟฟ้าในสมอง การเปรียบเทียบต้นทุนกับผลที่ได้ สัดส่วนประชากรที่ไว้ใจผู้อื่นในสังคม สัดส่วนประชากรที่รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม อัตราการหย่าร้าง อัตราว่างงาน คุณภาพของรัฐบาล การปฏิบัติกิจกรรม ความเชื่อทางศาสนา และนโยบายของรัฐ                                                                    กระบวนการเกิดความสุขประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งแบบมีเหยื่อ แบบไม่มีเหยื่อ การตอบสนองความต้องการด้วยตนเอง ตอบสนองความต้องการโดยผู้อื่น ตอบสนองความต้องการด้วยปัจจัยต่างๆ ทั้งความต้องการทางกาย ทางใจ และทางจิตวิญญาณ                                             อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้คนในสังคมเข้าใจความสุขของตนเองแล้ว ควรมีเวลาเพื่อลงมือปฏิบัติ สร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ จนเกิดคุณค่า เกิดผลกระทบที่ดีต่อตนเองและสังคม และชีวิตที่ดีนั้นเป็นกระบวนการไม่ใช่สถานะที่เป็น ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นทิศทางและการเดินทางที่มุ่งไป โดยทิศทางที่ทุกคนเลือกนั้นเป็นทิศทางที่ต่างมีเสรีภาพที่จะมุ่งไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต. (2547). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dmh.go.th/testwhoqol. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2566.

จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี. (2543). ชีวิตและการรู้จักตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชะอรสิน สุขศรีวงศ์. (2541). กลยุทธ์คลายเครียด. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ถีรจิต อิทธินภาพรรณ. (2550). GNH : ความสุขมวลรวมประชาชาติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2(3) : 15-19

นัดดา – Learning Hub Team. (2561). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : Bit.ly/happiness_LearningHubThailand. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2566.

นิเทศ ตินณะกุล. (2544). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โครงการผลิตตำราและเอกสารการสอบ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ป.ประภัสสร. (2542). คู่มือดับทุกข์ ทุกข์มีไว้แก้ มิได้มีไว้กลุ้ม. กรุงเทพฯ : สร้อยทอง.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : ภาพการพิมพ์.

ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพในฐานะอุคมการณ์ของมนุษย์. วารสารหมออนามัย. 9(6) : 13-36.

ประสิทธิ์ ทองอุ่น. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2543). วิถีใหม่แห่งการพัฒนาวิธีวิทยาศึกษาสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมา สารสุข. (2561). การสื่อสารภายในตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษากับการขายบริการทางเพศ. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2542). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภัทร ถามล. (2554). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง : กรณีศึกษาชุมชนวัดไชยทิศ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ลักขณา สริวัฒน์. (2545). สุขวิทยาจิตและการปรับตัว. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ลัดดาวัลย์ พิบูลศรี. (2546). ไขข้อข้องใจปัญหาสุขภาพจิต : ปัญหาในที่ทำงาน. วารสารสวนปรุง. 19(2) : 31-32.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2343). จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2544). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

สำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค. (2548). สรุปสาระสำคัญจากหนังสือ Happiness : Lessons from a New Science. [ออนไลน์ล. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link. php?nid=2833. สืบค้น 24 เมษายน 2566.

สุภาณี สุขะนาคินทร์. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชนอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุมาลัย สุระเสน. (2548). การศึกษาทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สมบัติ กาญจนกิจ และดำรัส ดาราศักดิ์. (2520). สันทนาการชั้นนำ. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร โอตระกูล. (2538). สุขภาพจิต. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอนามัยแม่และเด็ก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Dailygood. (N.D.). What makes a good life by Robert Waldinger. [Online]. Available : http://www.giuliotortello. it/materiali /80_years_study_hapiness_harvard.pdf. Retried June 15, 2023.

Rogers, C. R. (1961). On becoming a person. Boston, MA : Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023

How to Cite

ขันศิริ ว., & พิงคานนท์ ป. (2023). ความสุขแห่งตน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 325–342. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.64