กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจจัดเลี้ยง: กรณีศึกษาธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ อนุเวช คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
  • ประกายใจ อรจันทร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
  • ปัทมา สุวรรณภักดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.46

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสาร, การตลาด, การบูรณาการ, ความภักดี, ธุรกิจจัดเลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ            ของธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี  2) ศึกษาการรับรู้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของผู้ใช้บริการธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี  3) ศึกษาความภักดีของผู้ใช้บริการที่มีต่อธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี  และ 4) ศึกษาสมมติฐานกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้ประกอบการธุรกิจโต๊ะจีนที่ดำเนินธุรกิจโต๊ะจีน มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ใช้บริการธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 401 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปและการใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) ใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation)

         ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ พบว่าผู้ประกอบการธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี ใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ประกอบด้วย การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง การสนับสนุน และการตลาดแบบปากต่อปาก 2) การรับรู้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ พบว่าผู้ใช้บริการรับรู้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบการตลาดแบบปากต่อปากมากที่สุด รองลงมาคือ การตลาดทางตรง การส่งเสริมการขาย การเป็นผู้สนับสนุน และน้อยที่สุดคือการโฆษณา 3) ความภักดีของผู้ใช้บริการ พบว่ามีความภักดีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้สึกมากที่สุด รองลงมาคือความตั้งใจที่จะซื้อสินค้า การแสดงพฤติกรรม และน้อยที่สุดคือการรับรู้ การทดสอบสมมติฐาน พบว่าการตลาดแบบปากต่อปากส่งผลต่อความภักดีสูงสุด  รองลงมาคือ การส่งเสริมการขาย การเป็นผู้สนับสนุน การตลาดทางตรง และน้อยที่สุดคือการโฆษณา ซึ่งกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ประกอบด้วย การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง การเป็นผู้สนับสนุน และการตลาดแบบปากต่อปากส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงเป็นไปตามสมมุติฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภัทรพล ยินดีจันทร์. (2565). การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (การจัดการการสื่อสาร) : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล. (2563). กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ 2563 พาณิชย์เดินหน้าหนุนนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dbd.go.th. สืบค้น 23 ธันวาคม 2563.

วรณัชชา พลอยพยัฆค์. (2564). อิทธิพลที่มีผลต่อต่อความภักดีในการใช้บริการธุรกิจจัดเลี้ยงโต๊ะจีนในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 4(2) : 21-32.

สุรชัย ปุริตัง. (2566). ผู้ประกอบการธุรกิจโต๊ะจีน. : จังหวัดอุดรธานี.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารตลาด. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สุริยน การะเวก, อัฏฐมา บุญปาลิต และเกริกฤทธิ์ อัมพะวัต .(2565). คุณภาพการบริการความภักดีของผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในการทำธุรกิจโต๊ะจีนในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Atom. (2559). ธุรกิจจัดเลี้ยง (Catering). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bychoms.blogspot.com/2016/07/catering.html/เปิดโลกอาชีพและธุรกิจ. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2559.

Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty. Journal of Marketing. 63 : 33-44.

Pong, L. T.; & Yee. T. P. (2001). An Integrated Model of Service Loyalty. Brussels: Academy of Business and Administrative Sciences.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-11-2023

How to Cite

อนุเวช ส., อรจันทร์ ป., & สุวรรณภักดี ป. (2023). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจจัดเลี้ยง: กรณีศึกษาธุรกิจโต๊ะจีนในเขตจังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 39–50. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.46