ศักยภาพชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.53คำสำคัญ:
ศักยภาพ, การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, ชุมชนยลวิถีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยใช้การศึกษาทั้ง การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งหมด 367 คน โดยการใช้สูตรของ Yamane’s โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นที่ 95% และเทียบสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากรโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistic) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อเสนอแนะจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี นับว่าเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ การทอผ้า การจักสาน การปั้นหม้อเขียนสี รวมถึงอาหารพื้นบ้าน มีการวางแผนการท่องเที่ยว "ตามรอยดินดำอารยธรรมบ้านเชียง” เพื่อท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสร้างสรรค์ของบ้านเชียง ณ บ้านอาร์โฮมสเตย์ อาหารพื้นบ้าน และอาหารต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ มีการประสานงานร่วมด้วยช่วยกันในการจัดกิจกรรม โดยใช้กระบวนการระดมความคิดจากคนในชุมชน ร่วมวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ เชื่อมโยงด้วยพลังบวร บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ ในกิจกรรมสอดคล้องกันใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านศาสนา ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการรักษาวัฒนธรรมที่ดีงาม นอกจากนี้ในชุมชนบ้านเชียงยังมีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นศูนย์เรียนรู้การทำนา ทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักปลอดสารพิษ ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปั้นหม้อเขียนสี ศูนย์การเรียนรู้ทอผ้าย้อมคราม ศูนย์เรียนรู้ด้านการออกแบบลายผ้า การมัดหมี่ การย้อมผ้าด้วยคราม การทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นได้สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน และมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ อาทิ กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี กลุ่มโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม กลุ่มฟ้อนรำ กลุ่มอาหารแปรรูป กลุ่มทอผ้าย้อมคราม กลุ่มจักสาน กลุ่มมัคคุเทศก์ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มทำเกษตรผสมผสาน มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.04 (S.D. = 0.85) เมื่อศึกษาเป็นรายด้านพบว่า ศักยภาพของชุมชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.14 (S.D. = 0.85) รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 (S.D. = 0.81) และอันดับสุดท้าย คือ ด้านองค์กรชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 (S.D. = 0.84) ตามลำดับ
Downloads
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2561 (Tourism Statistics 2018). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mots.go.th/. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2565.
จังหวัดอุดรธานี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2561-2565. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.udonthani.go.th/Development_Plan61-65(Recover65).pdf. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2565.
เจตนา พัฒนจันทร์. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนวัดตาล ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
ณัฏฐนันธ์ สุวรรณวงค์. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชน และกลุ่มอาชีพให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง และยั่งยืนตามแผนยุทธศาสตร์ สายใยรักแห่งครอบครัว : กรณีศึกษาบ้านนาดี-สร้างบง ตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism Management). วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย นานาชาติ. 13(2) : 25-46.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2550). การท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานจุดเริ่มต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการประชุมเทศกาลการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และสหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(34) : 31-43.
พีพีทีวี ออนไลน์. (2565). เปิดชื่อ 10 ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีนี้ เที่ยวได้ในทุกมิติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.pptvhd36.com/news. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2565.
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตย์.
ลีลาภรณ์ นาครทรรพ. (2538). ตัวชี้วัดสำหรับงานพัฒนาชนบท : ประสบการณ์จากนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
วิชชญะ น้ำใจดี และเพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม:กรณีศึกษา บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7(2) : 283-294.
วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท. (2559). การเสริมสร้างศักยภาพทางการตลาดเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านนาดี-สร้างบง ตำบลผาสุก อำเภอกุมภาวปี จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วิมล จิโรจพันธุ์, ประชิด สกุณะพัฒน์ และอุดม เชยกีวงศ์. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2537). สังคมวิทยาชุมชน: หลักการศึกษาวิเคราะห์และปฏิบัติงานชุมชน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนันต์ คติยะจันทร์, ชนะพล ดุลยเกษม และสมพงษ์ แสนคูณท้าว. (2563). การอนุรักษ์ชุมชนกับวิถีชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมของชุมชนริมปากแม่น้ำห้วยหลวง จังหวัดหนองคาย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12(1) : 280-290.
อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.