การศึกษาทำนองเทศน์ผะเหวดในมิติทางดุริยางคศิลป์

ผู้แต่ง

  • เบญจทิพย์ เพชรสม คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุพรรณี เหลือบุญชู คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ดุษฎี มีป้อม คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.48

คำสำคัญ:

ทำนอง, ทำนองเทศน์, เทศน์ผะเหวด, ดุริยางคศิลป์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบของทำนองเทศน์ ระดับเสียงเทศน์ กระสวนทำนองเทศน์ และลักษณะการเคลื่อนที่ของทำนองเทศน์ผะเหวดในประเพณีบุญผะเหวดอีสาน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บข้อมูล ศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการ การลงพื้นที่ภาคสนามในงานประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด การสัมภาษณ์ผู้รู้ พระนักเทศน์ ตลอดจนศึกษาจากสื่อบันทึกภาพและเสียงการเทศน์ผะเหวด ใช้กระบวนการวัดค่าความถี่ของเสียงเพื่อวิเคราะห์ระดับเสียงของทำนองเทศน์โดยเครื่อง Oscilloscope ประเภท Digital อธิบายผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ และกราฟแสดงภาพการเคลื่อนที่ของทำนองเทศน์เพื่อให้เห็นแนวทำนองแบบเป็นรูปธรรม ซึ่งค้นพบผลการวิจัยดังนี้ รูปแบบทำนองเทศน์ผะเหวดในประเพณีบุญผะเหวดทั้ง 13 กัณฑ์ มี 2 รูปแบบทำนองใหญ่ๆคือ การเทศน์ทำนองเดินหรือทำนองอ่านหนังสือ มีรูปแบบการเคลื่อนที่ของทำนองแบบราบเรียบมีโทนเสียงเดียว และ การเทศน์ทำนองแหล่หรือเทศน์เสียง มีลักษณะการเดินทำนองแบบเล่นเสียงสูง - ต่ำ สลับกัน การเคลื่อนที่ของทำนองมีทิศทางของเสียงขึ้นสูง และเคลื่อนเสียงลงมาหาเสียงต่ำ สลับกันไป นอกจากนี้ยังพบทำนองดั้งเดิม 3 ทำนอง คือ ทำนองกาเต้นก้อน ทำนองช้างเทียมแม่ และ ทำนอง   ลมพัดพร้าว ซึ่งมีความแตกต่างกัน คือ ทำนองกาเต้นก้อนมีลักษณะการเดินทำนองแบบกระชั้นเสียง รวบคำ สลับกับทำนองราบเรียบ ทำนองช้างเทียมแม่ มีลักษณะการเดินทำนองแบบเปลี่ยนระดับเสียง และทำนองลมพัดพร้าว มีลักษณะการดำเนินทำนองแบบเคลื่อนที่ไปเสียงสูงและกลับลงมาที่เสียงหลัก แบบราบเรียบ ไม่กระชั้นเสียง ไม่รวบคำ

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำลี รักสุทธี. (2553). ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด. (2534). เมืองร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : ประสานการพิมพ์.

พระธีรพงษ์ ธีรปัญฺโญ. (2561). การศึกษาความงามการเทศน์ในประเพณีบุญผะเหวดของวัดพุทธประดิษฐ์ ตำบลโพนทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมนึก บ่อชน. (2562). การสร้างสรรค์บทเทศน์และประเพณีบุญผะเหวดในจังหวัดร้อยเอ็ด. ทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิเชียร แสนมี. (2560). รูปแบบการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยการเทศน์แหล่อีสาน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม. 6(2) : 119-128.

พระครูคุณสารพินิจ. (10 เมษายน 2565). ผู้ดำเนินการจัดเครื่องบูชาในประเพณีบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์.

พระเทพวชิรวิมล. (2 เมษายน 2565). เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ธรรมยุต. สัมภาษณ์.

พระครูสุตสารพิมล. (26 พฤษภาคม 2565). พระนักเทศน์วัดวังหินลาดจังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์.

พระธวัชชัย อคฺคปญฺโญ. (9 เมษายน 2565). พระนักเทศน์ผะเหวด วัดกลางมิ่งเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-11-2023

How to Cite

เพชรสม เ., เหลือบุญชู ส., & มีป้อม ด. (2023). การศึกษาทำนองเทศน์ผะเหวดในมิติทางดุริยางคศิลป์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 65–80. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.48