การรับรู้ภาพลักษณ์และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต นันต๊ะ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.41

คำสำคัญ:

การรับรู้ภาพลักษณ์, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อที่ส่งผลการต่อตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการหาค่าสมการถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง มีสถานภาพ สมรส มีอายุระหว่าง 40 - 49 ปี ศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพ พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน มีรายได้ 10,001 – 30,000 บาท และ ค่าเฉลี่ยปัจจัยการรับรู้ภาพลักษณ์ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ปัจจัยการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมากทุกปัจจัย และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ (b) ของตัวแปรทั้ง 5 ตัว คือ ปัจจัยการรับรู้ภาพลักษณ์ (X1 ) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ (X2 ) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดราคา (X3 ) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดช่องทางการจัดจำหน่าย (X4 ) และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการส่งเสริมการตลาด (X5 ) ที่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Y) เมื่อทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ ปรากฏว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกค่า โดยตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปร นั้นสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Y) ได้ร้อยละ 53.20 สามารถนำไปเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้

Y = 0.301 + 0.361 X1 + 0.481 X2 + 0.460 X3 +0.429 X4 + 0.398 X5

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนการพัฒนาสมุนไพรไทยฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564. นนทบุรี : บจก.ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐและเอกชน. (2564) แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 – 2564. นนทบุรี : บจก.ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

ใจแก้ว แถมเงิน. (2550). การศึกษาเพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกรรมชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

นวลพรรณ เทียมสุวรรณ. (2551). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 4(1) : 46-65.

ภาณุพัฒน์ โพธิ์ทอง และพอดี สุขพันธ์ (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรปัจศรีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2562. หน้า 330-339. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุวภี กลีบบัว และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(1) : 195-209.

Ken Black. (2007). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 5th edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-07-2023

How to Cite

นันต๊ะ ธ. (2023). การรับรู้ภาพลักษณ์และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 331–334. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.41