การรับรู้การสื่อสารการตลาด และพฤติกรรมการทำบุญของพุทธศาสนิกชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.40คำสำคัญ:
การรับรู้, การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมการทำบุญบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้การสื่อสารการตลาดของพุทธศาสนิกชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำบุญของพุทธศาสนิกชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณด้วยการสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล จากพุทธศาสนิกชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน รายได้ 5,001 – 10,000 บาท สถานภาพโสด และเข้าวัดทำบุญ 1-2 ครั้ง/เดือน รับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อมวลชน โดยผ่านหอกระจายข่าวของวัด/หอกระจายข่าวหมู่บ้านมากที่สุด รองลงมาคือ เฟซบุ๊กและสื่อโทรทัศน์ และโฆษณาจอ LED/จอดิจิตอลน้อยที่สุด และรับรู้การสื่อสารการตลาดที่ไม่ผ่านสื่อมวลชน ผ่านถังผ้าป่ามากที่สุด รองลงมาคือกิจกรรมต่างๆที่วัดจัดขึ้น และไลน์ (Line) น้อยที่สุด มีพฤติกรรมการทำบุญด้านทาน คือ ถวายสังฆทานมากที่สุด ด้านศีล คือ ปล่อยนก/ปล่อยปลามากที่สุด ด้านภาวนา คือเป็นจิตอาสาสอนธรรมะมากที่สุด และการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดที่ไม่ผ่านสื่อมวลชนแตกต่างกัน เมื่อทำการทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ระหว่างการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษากับมัธยมศึกษา/ปวช. การศึกษาประถมศึกษากับมัธยมศึกษา/ปวช. การศึกษามัธยมศึกษา/ปวช.กับอนุปริญญา/ปวส. และการศึกษามัธยมศึกษา/ปวช.กับปริญญาตรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระหว่างนักเรียน/นักศึกษากับพนักงานเอกชน และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจกับพนักงานเอกชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน
Downloads
References
กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : รวมสาสน์.
เครือข่ายจิตอาสา. (2561). พฤติกรรมการให้การทำบุญของคนไทย ปี 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.volunteerspirit.org/?p=38582. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2564.
จันทิมา พูลทรัพย์. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจในการทำบุญของพุทธศาสนิกชนกรณีศึกษาวัดจำปา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 4(3) : 282-297.
ติษยภรณ์ ศรีราษฎร์. (2545). การตลาดและผลต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บัณฑิต เผาวัฒนา. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการปีญหาน้า เสียในคลองแม่ข่า ตำบลช้างคลาน เทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระคมสัน ฐิตเมธโส, พระครูปุริมานุรักษ์, พระครูสุนทรเจติยาภิวัฒน์, ภัทรพล ใจเย็น และพลวัฒน์ ชุมสุข. (2561). พระพุทธศาสนาการกระจายเศรษฐกิจที่ซ่อนเร้น. ในการประชุมวิชาการ การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และสังคม ระดับชาติ ครั้งที่ 17 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1. ระหว่างวันที่ 28-31 มกราคม 2561. หน้า 319-329. อยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระใบฎีกาสะอาด สุทฺธิญาโณ, เฉลียว บุรีภักดี, สมนึก ชูปานกลีบ และสุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์. (2563). การรับรู้ข้อมูลการสื่อสารในการเข้าร่วมกิจกรรมของวัดเพื่อสืบทอด พระพุทธศาสนาของวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 8(1) :15-31.
พระมหาทองสุข สุภโรม (แสงดาว). (2545). อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวิถีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาพชร กิตฺติวรเมธี. (2564). การพัฒนาสังคมโดยใช้หลักความเชื่อด้านพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(7) : 40-49.
พระมหาสมชัย ปริมุตฺโต, พระครูสิริสุตาภรณ์ และพระมหาณัฐ กิตติอนารโท. (2562). แนวทางส่งเสริมการทำบุญของชาวพุทธตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(ฉบับเพิ่มเติม) : 314-325.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็ก จำกัด.
สำนักงานสถิติจังหวัดนครสวรรค์. (2560). รายงานสถิติจังหวัดนครสวรรค์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://nksawan.nso.go.th/images/attachments/article/335/statisticalReport60. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2564.
สิริวรรณ ศรีพหล. ( 2554). แนวการศึกษาชุดฝึกอบรมทางไกลชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษาเรื่องการจัดการเรียนการสอน วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษา. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
อมร วิทยกิจเวชา. (2560). การนำเสนอพระพุทธศาสนาของสังคมไทยในยุคดิจิทัลผ่านสื่อหนังสือพิมพ์. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Pariyakorn. (2563). ผลสำรวจคนไทยทำบุญไหว้พระ กระตุ้นเศรษฐกิจเติบโตพุ่งสูง 1.8 หมื่นล้านบาทต่อปี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://news.trueid.net/detail/2QW9awwP40z6. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.