การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกสุขภาพในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ประกายกาญจน์ วิระราช หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนภณ นิธิเชาวกุล หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.34

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, ภาพลักษณ์ตราสินค้า, กระบวนการตัดสินใจใช้บริการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกสุขภาพในจังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจและนำเสนอในลักษณะการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาในกลุ่มผู้บริโภคที่มาใช้บริการคลินิกสุขภาพในจังหวัดชลบุรี จำนวน 329 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือวิจัย สถิติที่ใช้ในการศึกษาอิทธิพลระหว่างตัวแปร (Path analysis) ได้แก่ โมเดลสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุ (Structural Equation Model)

          ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการส่งผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าคลินิกสุขภาพ และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนภาพลักษณ์ตราสินค้าส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการส่งผลทั้งทางตรงต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกสุขภาพและส่งผลทางอ้อมผ่านภาพลักษณ์ตราสินค้าของคลินิกสุขภาพไปยังกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเสริมแรงช่วยให้ผู้บริโภคที่ต้องการใช้บริการสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นจากประสบการณ์จากการใช้บริการจริงและจากคำบอกเล่าจากผู้ใช้บริการคลินิกสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าและกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ จึงถือได้ว่าการทำการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและนำเสนอภาพลักษณ์ตราสินค้าให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคลินิกสุขภาพเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

จิราภรณ์ ถึงสุข และวสุธิดา นุริตมนต์. (2562). การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. 21(2) : 113-124.

ชนุตพร ศิริผล. (2560). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของคลินิกเสริมความงามระดับชาติในจังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ณัฐวรรธน์ อารีรักษ์ ไพฑูรย์ อินต๊ะขันและ ธนกร น้อยทองเหล็ก. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้เครือข่าย 3G ของจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2) : 14-23.

ณิชชา ปะณะรักษ์. (2562). ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 5(2) : 137-147.

น้ำทิพย์ กลีบเมฆ, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ และวัลลีรัตน์ พบศิริ. (2562). อิทธิพลสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการซ้ำของนักท่องเที่ยวต่างชาติในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 10(1) : 17-29.

บัณฑิต รัตนไตร และเยาวภา ปฐมศิริกุล. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 7(1) : 186-201.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2552). การวิจัยการตลาดและระบบสารสนเทศทางการตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ศิโรรัตน์ จันทสีหราช กาญจนา สงวนวงศ์วานและ บุษยา วงษ์ชวลิตกุล. (2562). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย. 2(1) : 25-38.

ศิริลักษณ์ ชูจิตร. (2559). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท คาร์มาร์ท จำกัด (มหาชน) ในร้านบิวเทรี่ยม สาขาสยามสแควร์. สารนิพนธ์การศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ.2560–2564. นนทบุรี : บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด.

สาลิสา ลีระกุล. (2559). การตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการหอพักเอกชนของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทรบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการธุรกิจสำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกองยุทธศาสตร์และแผน. (2563). แผนปฏิบัติการสาธารณสุข

เขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2565). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2EEC.pdf. สืบค้น 20 มิถุนายน 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 6. (2563). ข้อมูลทรัพยากรด้านสาธารณสุข: จำนวนสถานพยาบาลเอกชน เขตสุขภาพที่ 6. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://region6.cbo.moph.go.th/r6/all_data.php. สืบค้น 25 มิถุนายน 2563.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2562). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการจองโรงแรมผ่านแอพพลิเคชั่น. วารสารเกษมบัณฑิต. 20(2) : 56-67.

หทัยกาญจน์ สิทธิศักดิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาเอกหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจราชมงคลพระนครและการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ การจัดการธุรกิจและเทคโนโลยีดิจิทอล. หน้า 293-307. คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพมหานคร.

อมนตรา ดนุจโรจน์ และวสุธิดา นุริตมนต์. (2562). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยและการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยรัฐของนักศึกษาใหม่ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน. Journal of Modern Management Science. 12(2) : 21-36.

Aaker, D.A., Kumar,V. & Day, George S. (2007). Marketing research. 9th.ed. New Jersey: John Wiley & Sons.

Camelia Mihart. (2012). Modeling the influence of integrated marketingcommunication on consumer behavior: an approach based on hierarchy of effects concept. Procedia Social and Behavioral Sciences. 62 (2012) : 975–980.

David, E. Gray. (2009). Doing research in the real world. 2nd . ed. Los Angeles: SAGE.

Katherine Culliver. (2016). Integrated Marketing and Nontraditional Student Enrollment Decision Making. Degree Doctor of Education, University of La Verne California.

Kotler, P., & Keller, K.L. (2009). Marketing management. (13th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Lucka, E., & Moffatt, J. (2009). IMC: Has anything really changed? A new perspective on an old definition. Journal of Marketing Communications. 15(5) : 311-325

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2023

How to Cite

วิระราช ป., นิธิเชาวกุล ธ., & นนทแก้ว แฟร์รี่ ก. (2023). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกสุขภาพในจังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 225–240. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.34

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่