การศึกษาลักษณะของตัวละคร ฉาก และองค์ประกอบการเล่าเรื่องจากภาพผ่านวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างปีพุทธศักราช 2560 – 2565

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์วรรณ จิตพัฒนกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ศิริพร งามขจิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.33

คำสำคัญ:

ลักษณะของตัวละคร, ฉาก, องค์ประกอบการเล่าเรื่องจากภาพ, วรรณกรรมสำหรับเด็ก, รางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างตัวละครที่ปรากฏในวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบฉากที่ปรากฏในวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการเล่าเรื่องจากภาพที่ปรากฏในวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างตัวละคร ได้มีการศึกษาการสร้างตัวละคร 5 ประเภท แต่พบเพียง 3 ประเภท โดยเรียงลำดับพบมากที่สุด ลำดับที่1 ตัวละครแบบสมจริง ลำดับที่2 ละครแบบบุคลาธิษฐาน และลำดับที่3 ตัวละครแบบเหนือจริง 2) องค์ประกอบฉาก จากการศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบฉาก 3 ประเภท พบมากที่สุดลำดับที่1 ฉากมีความสมจริง ลำดับที่ 2 ฉากที่ช่วยการดำเนินเรื่อง และลำดับที่ 3 ฉากที่ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นลักษณะตัวละครชัดเจน 3) องค์ประกอบการเล่าเรื่องจากภาพ การศึกพบว่าองค์ประกอบการเล่าเรื่องจากภาพ มี 4 ประเภท พบมากที่สุดลำดับที่ 1 ภาพประกอบทำหน้าที่ควบคู่ไปกับเรื่อง ลำดับที่2 ภาพประกอบทำหน้าที่มากกว่าเรื่อง ลำดับที่3 ภาพประกอบเรื่องแบบตรงไปตรงมา และลำดับที่ 4 ภาพเล่าเรื่องเอง          สรุปผลการศึกษาลักษณะของการสร้างตัวละคร ฉาก และองค์ประกอบการเล่าเรื่องจากภาพผ่านวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างปีพุทธศักราช 2560 – 2565 จะเห็นได้ว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่าย จึงมีการใช้ลักษณะตัวละครและฉากแบบสมจริง ที่ผู้อ่านพบเจอในชีวิตจริง อีกทั้งยังใช้ภาพประกอบทำหน้าที่ควบคู่ไปกับเรื่อง ยิ่งเป็นตัวช่วยเสริมความสนใจ  สร้างความเข้าใจ นำไปสู่จินตนาการ ช่วยพัฒนาความคิดของเด็กให้มองโลกทัศน์กว้างมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤษณะ กาญจนา และวชิราวรรณ ทับเสือ. (2561). สี่สหายกับต้นไม้ 100 ต้น. กรุงเทพฯ : แพรวเพื่อนเด็ก.

กุณฑิกา ชาพิมล, มาโนช ดินลานสกูล และนิดา มีสุข. (2559). องค์ประกอบของวรรณกรรมเยาวชนประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลหนังสือ ดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รางวัลแว่นแก้ว และรางวัลนายอินทร์ อะวอร์ด ระหว่างปี พุทธศักราช 2546-2555. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 10(2) : 127-150.

งามพรรณ เวชชาชีวะ. (2562). โลกของมดแดงกับแตงกวา (เอยด้วย!). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : นามมีบุ๊คส์.

จรรยวรรณ เทพศรีเมือง. (2560). การทำหนังสือสำหรับเด็ก. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชีวัน วิสาสะ. (2562). ก ไก่ไดโนเสาร์. กรุงเทพฯ : แพรวเพื่อนเด็ก.

ติณณา ตริยานนท์. (2564). อยากให้ทุกสิ่งในโลกนี้มีชีวิต. กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ.

นิตยา วรรณกิตร์. (2562). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. นนทบุรี : อินทนิล.

ปาริฉัตร วงศ์ดียิ่ง. (2560). วรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ประเภทนวนิยาย ปี พ.ศ.2553-2556. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจิตรา รุ่งแสง และสารภี ขาวดี. (2563). คุณค่าในวรรณกรรมเยาวชนของสุมาลี บำรุงสุข. วารสารวิวิธวรรณสาร. 4(3) : 87-117.

วิภา กงกะนันท์. (2533).วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

วิไลรัตน์ ภามนตรี. (2565). สถานภาพและบทบาทของตัวละครหญิงในนวนิยายของจุฬามณี.หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยูโตะ ฟุคุยะ. (2564). แมววัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ.

สุมาลี บำรุงสุข. (2565). อยู่ในสระประทุม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : นามมีบุ๊คส์.

อามารี จะปะกียา และสุรัสวดี นราพงศ์เกษม. การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เนื้อหา การใช้ภาษาและภาพประกอบในหนังสือภาพสำหรับเด็กที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ happyreading. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://human.yru.ac.th/thai. สืบค้น 11 มกราคม 2565.

LI NINGMIN. (2560). การวิเคราะห์หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง ปี พ.ศ.2558. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-07-2023

How to Cite

จิตพัฒนกุล ไ., & งามขจิต ศ. . (2023). การศึกษาลักษณะของตัวละคร ฉาก และองค์ประกอบการเล่าเรื่องจากภาพผ่านวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างปีพุทธศักราช 2560 – 2565. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 205–224. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.33