การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาชุมชนบ้านกุดหูลิง ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ดุษฎีพร หิรัญ -
  • ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล
  • สุรวุฒิ สุดหา

คำสำคัญ:

การเกษตร, ชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียง, สิ่งแวดล้อม, คุณภาพดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม โดยการประยุกต์ใช้หลักเกษตรกรรมยั่งยืน  ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) การตรวจสอบคุณภาพดิน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพดิน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การเดินสำรวจ การศึกษาข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ การเก็บตัวอย่างในพื้นที่ และเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์คุณสมบัติเบื้องต้นที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

          พบว่า  การเรียนรู้สู่การพึ่งตนเองของเกษตรกรต้นแบบ สรุปได้ 5 ด้าน คือ 1) ความพอเพียง เกษตรกรให้ความสำคัญกับการตระหนักรู้ ความพอเพียง พออยู่พอกิน เหลือกินก็นำมาขาย ลดต้นทุน รายได้กับรายจ่ายต้องไม่สร้างหนี้ ปลูกพืชกลายชนิดแบบผสมผสาน ทำไปเรียนรู้ไป 2) การพัฒนาและปลูกพืชแบบผสมผสาน และความพอเพียง ประมาณ 30 ชนิด เป็นพืชรายได้ 5.8 ชนิด  เป็นพืชสร้างรายได้ 15 ชนิด  พืชอาหาร 20 ชนิด พืชสมุนไพร 6.67 ชนิด พืชอาหารสัตว์ 6.67 ชนิด และพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 5 ชนิด 3) เลี้ยงสัตว์หลายชนิด ทั้งเลี้ยงไว้เพื่อกินและเพื่อค้าขาย  โดยมีการร่วมกลุ่มวิสาหกิจกับชุมชน  4) การพัฒนาภูมิปัญญาภิวัฒน์พอเพียง มีการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและการพัฒนาความสามารถในการการเกตรกรรม  อาทิเช่น การทำแซนวิชปลาใช้พืชหมุนเวียนในพื้นที่เพาะปลูก แทนฮอร์โมนหรือธาตุอาหารทางเคมี 5) การดำรงชีพพอเพียง พบว่า เกษตรกรมีความสายมารถในการดำรงชีพให้พอเพียงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี  โดยเพิ่มขึ้นคือ มีภูมิคุ้มกันด้านทุนในการดำรงชีพ ลดภาระการใช้จ่าย และเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับครอบครัว พออยู่พอกิน ไม่สร้างหนี้สินแก่ครอบครัว 

          ผลจากการตรวจสอบคุณภาพดิน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพดิน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร   พบว่า ดินที่ตรวจสอบในพื้นที่การเกษตรมีปริมาณแร่ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม และค่าการนำไฟฟ้าในดิน พบว่าอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตราฐานของคุณภาพดิน  เกษตรกรมีแนวทางในการเพิ่มผลผลิต โดยการลดต้นทุนจากการใช้สารเคมี โดยเกษตรกรมีการทำปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้นำมาปรับสภาพดินเพื่อสำหรับการเพาะปลุกพืชผลทางการเกษตร ร่วมกับการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ ลดแก๊สไข่เน่า สร้างอาหารในดิน  ซึ่งเป็นแนวทางเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นแนวทางในการลดต้นทุนจากการซื้อสารเคมีดังกล่าว

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-11-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)