การพัฒนาระบบ และถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อยกระดับรายได้ของชุมชน ตำบลเก่าย่าดี อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี -
  • ประมุข ศรีชัยวงษ์
  • สามารถ สินทร
  • ศาสตร์ศิลป์ ละม้ายศรี
  • กันตินันท์ นามตะ
  • ธานี ถังทอง

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยี, การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจ

บทคัดย่อ

         โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีการผลิตไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจร และ 2) หาแนวทางเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อยกระดับรายได้ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีเก่าย่าดี อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม การจัดประชุม การสังเกต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินผลหลังจากเสร็จสิ้นโครงการผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีเก่าย่าดี จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา พรรณนารายละเอียด ตีความ หาความหมาย และอธิบายความ โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ค่าความถี่ และค่าร้อยละ  

         ผลการวิจัย พบว่าองค์ความรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีการผลิตไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจรไปสู่กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ 1) องค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมือง เช่น การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ กระบวนการการฟักไข่ และการผลิตลูกไก่ อาหารไก่  การดูแลรักษาโรค การลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิต และวิธีการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ 2) องค์ความรู้การผลิตอาหารไก่พื้นเมืองสูตรลดต้นทุน “กากมันสำปะหลังหมักยีสต์” 3) องค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม “ตู้ฟักไข่ประหยัดพลังงาน” และ 4) องค์ความรู้การตลาดไก่พื้นเมืองชัยภูมิ ผลการศึกษาแนวทางเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร พบว่า จากสถานการณ์ที่แพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด -19) ทั่วประเทศในขณะนี้ทำให้ตลาดการค้าไก่พื้นเมืองชายแดนซึ่งเป็นตลาดหลักต้องปิดตัวลง เกษตรกรไม่สามารถนำไก่มีชีวิตไปขายได้ จึงได้หาแนวทางนำไก่พื้นเมืองมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อจำหน่าย เช่น ไก่ฝอย, ไก่สับพร้อมปรุง, ไก่อบโอ่งสมุนไพร,ไก่ย่างสมุนไพร, แหนมไก่, ไก่นึ่งสมุนไพร และหม่ำไก่ เป็นต้น จนเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ผลการประเมินผลความคิดเห็นเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ พบว่า ในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.93  คิดเป็นร้อยละ 98.60  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน ข้อเสนอแนะต่อการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรมีไก่พื้นเมืองสายพันธุ์แท้ที่ได้รับการพัฒนานับเป็นโอกาสที่ดีในการอนุรักษ์สายพันธุ์ไก่พื้นเมืองแท้เอาไว้ในตำบลเก่าย่าดีมีวัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่น และเกษตรกรมีเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองทั่วประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2022

How to Cite

สุธรรมดี ฉ., ศรีชัยวงษ์ ป., สินทร ส., ละม้ายศรี ศ., นามตะ ก., & ถังทอง ธ. (2022). การพัฒนาระบบ และถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อยกระดับรายได้ของชุมชน ตำบลเก่าย่าดี อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/261392

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)