การยกระดับศักยภาพการเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงธุรกิจแบบครบวงจร

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี -
  • อุมาวดี เดชธำรงค์
  • ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี
  • เสกสรรค์ สนวา

คำสำคัญ:

การยกระดับศักยภาพ, การเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมือง, เชิงธุรกิจ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาระบบ และนวัตกรรมเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไก่พื้นเมืองแบบครบวงจร และ 2) จัดกิจกรรมถอดบทเรียนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรเพื่อหาแนวทางการยกระดับศักยภาพการเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงธุรกิจแบบครบวงจร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองใหม่นาดีโมเดล จำนวน 50 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลลักษณะปฐมภูมิ โดยใช้ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา

ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

         ผลการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาระบบ และนวัตกรรมเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไก่พื้นเมืองแบบครบวงจร  พบว่า องค์ความรู้ที่นำไปถ่ายทอดแก่เกษตรกร ได้แก่ (1) องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและพัฒนาไก่พื้นเมืองเชิงธุรกิจ ระบบการเลี้ยงไก่พื้นเมือง (2) องค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตอาหารไก่พื้นเมืองลดต้นทุน            “กากมันสำปะหลังหมักยีสต์”และ (3) องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายไก่มีชีวิต ไก่สดชำแหละ และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อไก่พื้นเมือง

         ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของเกษตรกรจากการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาระบบ           และถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรในพื้นที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่เกษตรกรมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ 4.98 อยู่ 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการถ่ายถอดองค์ความรู้ และด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยที่ 4.98          

         ผลการถอดบทเรียนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรเพื่อหาแนวทางการยกระดับศักยภาพการเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงธุรกิจแบบครบวงจร พบว่า ในระยะเริ่มแรกเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านใหม่นาดีโมเดล ที่เข้ามาเป็นสมาชิกยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเลี้ยงและขายไก่มีรายได้อย่างแท้จริง เพราะอาชีพเดิมคือการเกษตร ปลูกมัน อ้อย และข้าวเกษตรกรจึงมองเป็นเรื่องท้าทาย เมื่อดำเนินการไปในระยะแรกๆเกิดปัญหาคือ ภัยธรรมชาติน้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ เกิดความเสียหาย ตลาดไก่มีชีวิตปิดตัวลงทำให้เกษตรกรท้อแท้ และไม่เห็นผลที่ได้รับ ปศุสัตว์อำเภอจัตุรัส ได้ลงพื้นที่แก้ไขปัญหา และให้กำลังใจ เช่นจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ หาแหล่งเงินกู้ให้กับกลุ่มเลี้ยงไก่ พร้อมทั้งส่งเสริมอุปกรณ์การเลี้ยงบางส่วนตอนนี้เกษตรกรมีกำลังใจและสามารถขับเคลื่อนกลุ่มไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-10-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)