การสร้างกลไกชุมชนที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมสูงวัย ของกลุ่มคนทุกช่วงวัยในชุมชนเกษตรกรรมพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
กลไกชุมชน, สังคมสูงวัย, กลุ่มคนทุกช่วงวัย, ชุมชนเกษตรกรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 6 พื้นที่ ได้แก่ 1) ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ 2) ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน 3) ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ 4) ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย 5) ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ และ 6) ตำบลคูบ อำเภอน้ำเกลี้ยง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มย่อยจากกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมทั้งสิ้น 90 คน นำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ และนำเสนอแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า
- การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์สังคมสูงวัย ส่วนใหญ่ชุมชนในจังหวัด ศรีสะเกษจะใช้กิจกรรมในการเชื่อมโยงให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุจากหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ การเพิ่มพูนความรู้ทักษะอาชีพ ดูแลในเรื่องการเข้าถึงสิทธิผู้สูงอายุอย่างเบี้ยยังชีพ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ และรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน ชุมชนบางพื้นที่ไม่มีโรงเรียนผู้สูงอายุแต่มีสถานที่ที่ชุมชนได้จัดการให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ โดยกิจกรรมมีทั้งกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากชุมชน จากนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาของหมู่บ้าน ซึ่งทุกกิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้คงความสามารถในการดูแลและพึ่งพาตนเองได้
- การสร้างกลไกชุมชนที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมสูงวัยของกลุ่มคนทุกช่วงวัยในชุมชนเกษตรกรรม ประกอบด้วย 1) การสร้างกลไกโดยกระบวนการกิจกรรมรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะทางกาย จิต สังคม สติปัญญาและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ และ 2) กลไกการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ช่วยเหลือ ส่งต่อ และฟื้นฟู ดูแล
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.