การพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว, เศรษฐกิจพอเพียง, จังหวัดนครนายกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อศึกษารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครนายก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครนายก เพื่อเป็นต้นแบบในการปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การสำรวจเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน ด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้
1) จังหวัดนครนายกมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งภายในและใกล้เคียงสามารถที่จะนำมาปรับใช้ในกิจกรรมและรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนได้ มีภูมิปัญญาชาวบ้าน มีประเพณีวัฒนธรรม ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานภายในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทำให้ชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาหมู่บ้านของตนในหลาย ๆ ด้านอย่างยั่งยืนและต้องการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2) การพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ จังหวัดนครนายก การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ควรมีผู้รับผิดชอบรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ กลุ่มเป้าหมายควรมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวที่เห็นคุณค่าการท่องเที่ยวแบบวิถีชาวบ้าน
3) รูปแบบประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ จังหวัดนครนายก เนื้อหาการประชาสัมพันธ์ควรเน้นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นหรือจุดขายของวิถีชีวิตของชุมชน เครื่องมือการประชาสัมพันธ์ควรใช้เครื่องมือที่หลากหลายแบบผสมผสาน สื่อสังคมออนไลน์ สื่อหรือช่องทางที่ทำให้เกิดการรีวิวหรือการบอกต่อ