รูปแบบพึงประสงค์ลักษณะอำนาจทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • พระเสกสรรค์ ไชยชาติ

คำสำคัญ:

รูปแบบลักษณะอำนาจ, อำนาจทางการเมือง, ผู้นำ

บทคัดย่อ

อำนาจเป็นความสามารถที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นให้มีพฤติกรรมตลอดจนทัศนคติไปในทิศทางที่ต้องการหรือเพื่อให้ยอมปฏิบัติตาม อำนาจ จึงเป็นสิ่งที่ผู้แสวงหาอำนาจมีความปรารถนา เพราะยิ่งมีอำนาจมากเท่าใด ก็ยิ่งมีสิทธิและอภิสิทธิ์มากกว่าผู้อื่นเท่านั้น บุคคลบางส่วนจึงแสวงหาอำนาจเพื่อทำให้ตนเองอยู่เหนือผู้อื่น โดยมีตั้งแต่ยุคสมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน อำนาจโดยทั่วไปเกิดขึ้นในทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชนเผ่าในสมัยดึกดำบรรพ์ ผู้นำอาณาจักรในสมัยต่อมา ผู้นำประเทศ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำในสังคมชุมชน ผู้บริหารรวมถึงองค์กรต่าง ๆ  ผู้มีอำนาจทางการเมืองสามารถที่จะจัดสรรความชอบธรรมหรือสิทธิอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ตามตัวบทกฎหมาย ดังเช่นนักการเมืองในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ดังนั้นอำนาจทางการเมืองจึงเป็นความสัมพันธ์ด้านสังคมการเมืองและการปกครอง  ในการศึกษา “อำนาจ” ในเรื่องรูปแบบพึงประสงค์ลักษณะอำนาจทางการเมือง มีหลายมิติซึ่งต้องทำความเข้าใจศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดและที่มาของอำนาจ อำนาจหน้าที่และความหมายของอำนาจ รูปแบบลักษณะอำนาจทางการเมือง ซึ่งการที่จะขึ้นสู่อำนาจสามารถจำแนกได้ 4 วิธี ได้แก่ 1) อำนาจวิถีทางขึ้นสู่อำนาจ 2) อำนาจจากตำแหน่ง 3) อำนาจส่วนบุคคล และ 4) อำนาจจากการเมือง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-10-2022

How to Cite

ไชยชาติ พ. (2022). รูปแบบพึงประสงค์ลักษณะอำนาจทางการเมือง. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(1), 121–136. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/251251

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)