ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของบุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนมในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
ความเป็นพลเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของบุคลากร มหาวิทยาลัยนครพนม และ 2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของบุคลากร มหาวิทยาลัยนครพนม ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนมในเขตพื้นที่ทำงานตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 183 คน ซึ่งได้จากการคำนวณโดยสูตรของยามาเน่ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และระดับค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ใช้หลักความน่าจะเป็นในการสุ่มตัวอย่าง (Probability Sampling) โดยใช้การสุมแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) จำแนกตามหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test ในกรณีที่ตัวแปรมี 2 กลุ่มและค่า F-test ในกรณีที่ตัวแปรมีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยกำหนดค่านัยสถิติที่สำคัญที่ 0.05 เมื่อพบความแตกต่าง จึงทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least-Significant Different)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของบุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนมในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านเคารพกติกา ( =4.51) และอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านเคารพหลักความเสมอภาค ( =4.50) ด้านการรับผิดชอบต่อสังคม ( =4.46) ด้านเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ( =4.45) และด้านรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น ( =4.05) ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของบุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนม ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ หน่วยงาน อายุ รายได้ ระดับการศึกษา และประเภทของบุคลากร ผลการวิจัย พบว่าบุคลากรที่มีหน่วยงาน รายได้ ต่างกัน มีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่างมีนัยสถิติที่สำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีเพศ อายุ การศึกษา และประเภทของบุคลากรที่ต่างกัน มีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสถิติที่สำคัญที่ระดับ 0.05