ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะในโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2563

ผู้แต่ง

  • บงกชรัตน์ ธูปกระแจะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
  • วิชัย โถสุวรรณจินดา
  • กันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน
  • รังสรรค์ ประเสริฐศรี
  • ปกรณ์ ปรียากร
  • พระปลัดสุระ ญาณธโร (จันทึก)

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, ผู้ประกอบการ, โครงการ, หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ, สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาถึงปัจจัยความสำเร็จ การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อปัจจัยของความสำเร็จ และเพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการในการเข้าร่วมโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2563 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะในโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ในสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2563 จำนวน 145  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test สถิติ F-test ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA Analysis of Variance) เพื่อทดสอบความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Sheffe)

 ผลการวิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้                   

  1. ผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะในโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ในสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2563 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี การศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,001-15,000 บาท เป็นผู้ประกอบการทั่วไป ประเภทธุรกิจ Basic Technology Business และเป็นขนาดธุรกิจเล็ก การจ้างงานเป็นลักษณะ Part time
  2. ผลวิเคราะห์ข้อมูลระดับของปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการในโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2563 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .388 เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่  ด้านการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01ส่วนเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ .497 รองลงมา ด้านพื้นฐานการเป็นผู้ประกอบการค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ .537 ด้านการเป็นผู้นำเกี่ยวกับต้นทุนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ .478 ด้านการคุณภาพสินค้าและบริการที่ลอกเลียนแบบได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ .516 และด้านการสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มผู้ประกอบการค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ส่วนเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ .521
  3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ การศึกษา ประเภทของผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะ ประเภทของธุรกิจ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจไม่แตกต่างกันไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ขนาดของธุรกิจและการจ้างงาน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐาน
  4. ปัญหาและอุปสรรคในการเป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการบ่มเพาะในโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาการบริหารธุรกิจผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความต้องการขยายการตลาด ทั้งการตลาด ออนไลน์และการส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การนำนวัตกรรมมาสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าเพื่อสร้างจุดขาย การพัฒนารูปแบบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงการยืดอายุของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 (Covid-19) ทำให้ได้รับผลกระทบต่อยอดขายลดลง เนื่องจากมีการปิดตลาดในบางพื้นที่ งดการเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้ไม่สามารถออกบูทขายสินค้าได้และธุรกิจบางตัวที่เป็นธุรกิจบริการไม่สามารถเปิดให้บริการได้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-07-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)