ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อแอปพลิเคชันไทยชนะของประชาชนในเขตพญไท กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, แอปพลิเคชัน, ไทยชนะ, พฤติกรรม, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อแอพพลิเคชนไทยชนะของประชาชนเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการใช้งานแอปพลิชันไทยชนะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือประชาชนที่อยู่ในเขตพญาไท จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test
ผลการวิจัยพบว่าประชาชนในเขตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 25-40 ปี การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ประกอบอาชีพข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างรัฐ ทัศนคติของประชาชนในเขตพญาไทที่มีต่อแอปพลิเคชันไทยชนะ ด้านภาพรวม พบว่า ประชาชนมีทัศนคติในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.58, S.D. = .772) เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ ดังนี้ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้แอปพลิเคชันมีทัศนคติอยู่ในระดับมาก ( = 3.67, S.D. = .800) ด้านนโยบาย มีทัศนคติอยู่ในระดับมาก ( = 3.62, S.D. = .870) ด้านคุณประโยชน์ของการใช้แอปพลิเคชัน มีทัศนคติอยู่ในระดับมาก ( = 3.45, S.D. = .832) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ของประชาชนในเขตพญาไท และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยประชาชนในเขตพญาไทพบว่า เพศ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีทัศนคติและพฤติกรรมในการใช้งานแอปพลิเคชันที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประชาชนในเขตพญาไท กรุงเทพมหานครที่มีอายุ อาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติและพฤติกรรมต่อแอปพลิเคชันไทยชนะไม่แตกต่างกัน
ปัญหาและอุปสรรคที่พบได้แก่ ความไม่สะดวกในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน ปัญหาด้านความปลอดภัยประชาชนไม่มีความมั่นใจในการใช้แอปพลิเคชันไทยชนะเนื่องจากกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล และสถานที่บ้างที่มีความหละหลวมในการปฏิบัติ