การพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพหุภาคีจังหวัดลําพูน
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, ผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม, พหุภาคี, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแล บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน และแนวทางการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพหุ ภาคีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ องค์กรปกครองท้องถิ่น 3 แห่ง ในอําเภอลี้จังหวัดลําพูน ได้แก่ เทศบาลตําบลวังดิน เทศบาลตําบลดงดํา และเทศบาลตําบลก้อ ผู้ให้ข้อมูลสําคัญได้แก่ 1) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น 15 คน 2) ผู้สูงอายุ60 คน 3) ชาวบ้านที่มาทําจิตอาสา 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแนวทางการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
- ผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจําวันอย่างเป็นอิสระ ต้องการความช่วยเหลือหรือเฝ้าระวังจากบุคคลอื่น ผู้มีบทบาทสําคัญ คือ บุคคลในครอบครัว ลูกหลาน เป็นต้น ทั้งนี้ต้องอาศัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกําหนดนโยบายในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการ
- บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี5 ประการ คือ 1) บทบาทตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 2) บทบาทตามนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับจังหวัด 3) บทบาทตามแผนงานและยุทธศาสตร์ท้องถิ่น 4) บทบาทการจัดสวัสดิการตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ตามมาตรา 11 และ 5) บทบาทการผลักดันแกนนําและสร้างจิตอาสา
- การพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุแบบพหุภาคีเรียกว่า “จิต (มหาจุฬาฯ) อาสา” หรือ VMCU Model มี4 ปัจจัยที่สําคัญ ได้แก่ 1) ประชาชนจิตอาสา 2) พัฒนาและสร้างกําลังใจ 3) ห่วงใยและเกื้อกูล 4) หนุนเสริมสิ่งอํานวยความสะดวก รูปแบบนี้สามารถสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งของกลุ่มจิตอาสาภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่นโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป