วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร: การพัฒนาการท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ เพื่อสักการะบูรพาจารย์พระป่าสายกรรมฐานในล้านนา

ผู้แต่ง

  • ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง
  • ประทีป พืชทองหลาง 0858661441
  • นคร ปรังฤทธิ์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา, พระป่าสายกรรมฐาน, อารยสถาปัตย์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ และแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ของวัดที่เคยเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของบูรพาจารย์พระป่าสายกรรมฐานในล้านนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) การวิจัยเชิงปริมาณ 400 คน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ พระสงฆ์สามเณร นักท่องเที่ยวชาวไทย 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ 25 คน ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้พิการ พระสงฆ์ สามเณร นักท่องเที่ยวชาวไทย ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

  1. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่มีศักยภาพสูงตั้งอยู่ในพื้นที่ราบใจกลางเมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวทั่วโลกรู้จักและเดินทางมาชื่นชมความงดงามของสถาปัตยกรรมภายในวัดทุกวัน เช่น พระพุทธรูปสำคัญ เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ โบราณสถานและพุทธศิลปกรรมที่งดงาม เดินทางสะดวก มีสิ่งบริการครบวงจร นอกจากนั้น ยังเคยเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม จำพรรษาของพระป่าสายกรรมฐานในฝ่ายธรรมยุติกนิกายหลายรูป เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น เป็นวัดแห่งเดียวที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเคยเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ได้อุปสมบทจนกระทั่งละขันธ์
  2. วัดเจดีย์หลวงวรวิหารได้จัดการท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ 5 รายการ ได้แก่ 1) ราวจับขึ้น-ลง 2) เครื่องกระจายเสียง 3) แสงสว่างเพียงพอ 4) ตัวอักษรสื่อความหมาย/QR Code 5) ป้ายสัญลักษณ์ อย่างไรก็ตาม พื้นที่บางจุดของวัดควรเพิ่มและปรับปรุงให้สอดคล้องตามอารยสถาปัตย์ จำนวน 12 รายการ เช่น ทางลาด ที่จอดรถ ทางเดิน พื้นกันลื่น/กันเท้าร้อน เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ประทีป พืชทองหลาง, 0858661441

พธ.ด. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ศษ.ม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

พธ.บ. จิตวิทยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)