การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งของ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การบริหาร, ชุมชนเข้มแข็งบทคัดย่อ
บทคัดยอ (Abstract)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน
การบริหาร และชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหาร
กับชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ
ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูล
เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน384 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหาร กับชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. การมีส่วนร่วมของประชาชน ในตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.35 D. = 0.86) การบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39 S.D. = 0.79) ชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 3.49 S.D. = 0.77) - 2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน มีความสัมพันธ์กับชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยมีระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง กล่าวคือ เมื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล มีความสัมพันธ์กับชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีระดับความสัมพันธ์ที่สูงมาก กล่าวคือ เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลมีการบริหารงานที่ดี จึงส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น
- 3. ปัญหาและอุปสรรคด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า 1) ประชาชนไม่ให้ความสนใจในการประชุมปรึกษาหารือเรื่องของหมู่บ้าน เข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอปัญหา วางแผนพัฒนาหมู่บ้าน และเข้าร่วมกิจกรรมน้อย เพราะไม่มีเวลา ต้องทำงาน 2) ประชาชนไม่ตระหนักถึงประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ และขาดแรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วม 3) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจแผนและนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบล และไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ควรกำหนดเวลาในการจัดเวทีประชาคมให้ตรงกับวันหยุด หรือช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่มีเวลาว่างจากการทำงาน 2) สร้างแรงจูงใจ ชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ 3) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการบริหารและการพัฒนาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและท้องถิ่น
คำสำคัญ (Keywords): การมีส่วนร่วม; การบริหาร; ชุมชนเข้มแข็ง