การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรท้องถิ่นตามนิเวศธรรมชาติลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จันทร์จิรา ตรีเพชร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา
  • วราวุฒิ มหามิตร

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, พืชสมุนไพร, ลำน้ำพรม, จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญา ทุนทางด้านทรัพยากรชีวภาพของพืชสมุนไพรในท้องถิ่น และแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ตามเส้นนิเวศธรรมชาติ   ลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร ใช้วิธีสืบค้นข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลที่ได้ จากการสังเกต การสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ โดยใช้โครงสร้างการสัมภาษณ์  (Interview guide) ด้วยเทคนิคสโนว์บอล (Snowball technique) เจาะจงเฉพาะผู้มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการใช้สมุนไพร การสนทนากลุ่ม (Focus  group discussion)

ผลการวิจัยพบว่า พืชสมุนไพรที่พบและใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ พืชวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) และการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร มีภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น มีการนําสมุนไพรมาใช้เพื่อการส่งเสริม ป้องกัน บําบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพในรูปแบบการใช้สมุนไพร ด้วยการใช้สมุนไพร ทาสด ต้ม ฝนผสมน้ำ และลูกประคบสมุนไพร 

แนวทางการอนุรักษ์สมุนไพรในท้องถิ่น ควรมีการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนด้วยการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพร สร้างแหล่งเรียนรู้ จัดทำเป็นแปลง ปลูกและรวบรวมพืชสมุนไพรที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ในท้องถิ่น และมีการใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างสวนสมุนไพรในวัดหรือในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่งเสริมรูปแบบแหล่งเรียนรู้เพื่อชุมชนที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-12-2021

How to Cite

ตรีเพชร จ., เพ็ชรตรา ศ., & มหามิตร ว. (2021). การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรท้องถิ่นตามนิเวศธรรมชาติลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 213–224. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/249875

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)