รูปแบบประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์

อัจฉรา คะสีทอง
Thailand
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
Thailand
คำสำคัญ: รูปแบบประสิทธิผลการดำเนินงาน, กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, จังหวัดเพชรบูรณ์
เผยแพร่แล้ว: ก.ค. 28, 2021

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรที่ใช้การศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารกองทุนทั้งสิ้น 1,198 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Hair et. al ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 320 คน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และสุมตัวอย่างในแต่ละกลุ่มด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบจับฉลากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM-Structural Equation Model) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้


           ผลการวิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน  c2 = 167.524, df = 143, P-value = 0.0787, TLI = 0.994, RMSEA = 0.023, SRMR =0.025, CFI = 0.995, c2 /dƒ= 1.171

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

คะสีทอง อ., & เหลืองอลงกต พ. (2021). รูปแบบประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 91–100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/249367

บท

บทความวิจัย (Research Articles)