พฤติกรรมและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ ในเขตจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • อนิรุจ อินทร์เกษา ิวิทยาลัยธาตุพนม มหาิทยาลัยนครพนม
  • วศิน เพชรพงศ์พันธ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความพึงพอใจ, เครือข่ายสังคมออนไลน์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) พฤติกรรมการใช้แรงจูงใจและความพึงพอใจในการใช้บริการ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บริการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บริการจำแนกตามพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 4) อิทธิพลของแรงจูงใจในการใช้บริการต่อความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้คือผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนครพนม ถูกใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน สุ่มตัวอย่างโดยได้จากวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Mean, Standard Deviation, One-Way ANOVA และ Regressions analysis

          ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจและความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยที่แรงจูงใจมีคะแนนเฉลี่ยที่ 3.62 และความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ย 3.59 2) ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันทำให้ความพึงพอใจต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เพศ อายุ ที่แตกต่างกันไม่ทำให้ความพึงพอใจแตกต่างกัน 3) วัตถุประสงค์ของใช้เครือข่ายสังคม ช่องทางในการใช้เครือข่ายสังคม จำนวนการต่อวันใช้เครือข่ายสังคม จำนวนชั่วโมงการใช้เครือข่ายสังคมเวลาในการใช้เครือข่ายสังคม การแต่งรูปภาพ การเปลี่ยนรูปภาพ และจำนวนภาพส่วนตัวในแอพพลิเคชั่นครือข่ายสังคม แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจแตกต่างกัน และ 4) ความพึงพอใจมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2021

How to Cite

อินทร์เกษา อ., & เพชรพงศ์พันธ์ ว. (2021). พฤติกรรมและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ ในเขตจังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 33–46. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/247011

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)