ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารชุมชน วัฒนธรรมองค์กร และการมีส่วนร่วมสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี สื่อวงศ์สุวรรณ หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • ธรรมนิตย์ วราภรณ์ หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • วีระศักดิ์ จินารัตน์ หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

การสื่อสารชุมชน, วัฒนธรรมองค์กร, การมีส่วนร่วมสาธารณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กร พฤติกรรมการใช้การสื่อสารชุมชนและการมีส่วนร่วมสาธารณะของคนในองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กร พฤติกรรมการใช้การสื่อสารชุมชนที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม เก็บข้อมูลโดยวิธีใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 346 คน ใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจงมาวิเคราะห์เป็นรูปแบบแล้วนำไปขอความเห็น และการรับรองยืนยันจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารชุมชนและการมีส่วนร่วมสาธารณะจำนวน 12 คน งานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise

ผลวิจัยปรากฏว่า 1) การสื่อสารชุมชนของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับน้อย ระดับของวัฒนธรรมองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งตัวแปรหลักและองค์ประกอบ การมีส่วนร่วมสาธารณะทั้งสามองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2) ความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปร คือวัฒนธรรมองค์กรและการมีส่วนร่วมสาธารณะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่า r= .30 ปัจจัยด้านเพศ และการใช้สื่อสารชุมชนด้านการแบ่งปันความรู้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์กรแบบองค์กรและสามารถพยากรณ์ร่วมกันต่อการมีส่วนร่วมสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า  = .465

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-01-2021

How to Cite

สื่อวงศ์สุวรรณ ส., วราภรณ์ ธ. ., & จินารัตน์ ว. . (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารชุมชน วัฒนธรรมองค์กร และการมีส่วนร่วมสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 337–346. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/244297

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)