ปัจจัยที่มีความสัมพัน์กับประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2)เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยอิทธิพลของความรอบรู้ทางการเมือง ที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากการวิเคราะห์ลักษณะของตัวแปรที่เป็นปัจจัย ความรอบรู้ทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองและประชาธิปไตย นำมาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความรอบรู้ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองจำนวน 18 ท่านสำหรับนำมาพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับตัวแปรที่สามารถนำไปใช้สร้างแบบสอบถาม โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน ใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลวิจัยปรากฏว่า 1) ความรอบรู้ทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และประชาธิปไตยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรองค์ประกอบพบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสรุปของงานวิจัยในครั้งนี้พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้แก่ การใช้โซเชียลมีเดียประเภทการส่งข้อความ (Massage) และการบันทึกข้อมูลและแบ่งปัน (Upload and Share) นอกจากนี้ การส่งข้อความ (Massage) มีผลต่อความรอบรู้ทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาธิปไตย
Downloads
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย (Research Articles)