กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความมั่นคงขององค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อุไรรัตน์ ทับทอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การปรับตัว, ความมั่นคง, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความท้าทายทางการบริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในสภาวะปัจจุบัน 2) วิเคราะห์กลยุทธ์การจัดการเพื่อความมั่นคงขององค์กร 3) นำเสนอกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อความมั่นคงขององค์กร การศึกษาใช้ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหาตีความข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า

  1. ความท้าทายทางการบริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์ด้วยรูปแบบ PESTLE Analysis 6 ประเด็น คือ 1) ด้านการเมือง พบว่า ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและความไม่ต่อเนื่องของนโยบายมีความท้าทายเกี่ยวกับประเด็นด้านพลังงาน 2) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า สภาพเศรษฐกิจ การแข่งขันในธุรกิจผลิตไฟฟ้า ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างการผลิต และความต้องการใช้ไฟฟ้า รวมถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 3) ด้านสังคม พบว่า การตื่นตัวของสังคมที่มีต่อนโยบายสาธารณะ การตื่นตัวของการรวมกลุ่มประชาชนและการเกิดภาคประชาสังคม4) ด้านเทคโนโลยี พบว่า เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การรวมกลุ่มสื่อสังคมออนไลน์ 5) ด้านกฎหมาย พบว่า พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) ไม่สอดรับกับสถานการณ์การแข่งขันในปัจจุบัน 6) ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า การขาดแคลนพลังงานที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิต การตระหนักถึงปัญหาสภาวะโลกร้อนของสังคม
  2. กลยุทธ์การจัดการเพื่อความมั่นคงขององค์กร วิเคราะห์ด้วย แนวคิด 7 s McKinsey ดังนี้ 1) ด้านกลยุทธ์ พบว่าใช้หลักการ SPEED 2) ด้านโครงสร้างองค์กร พบว่าลดโครงสร้างองค์กร3) ด้านสไตล์ พบว่าปรับเพิ่มความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างผู้บริหารกับพนักงานโดยการยึดหลักธรรมาภิบาล 4) ด้านระบบ พบว่าใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการจัดการ 5) ด้านบุคลากร พบว่าวางตำแหน่งคนและจัดสรรโอกาสในการเติบโตอย่างเป็นระบบ 6) ด้านทักษะ พบว่าสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมภายในองค์กรและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 7) ด้านค่านิยม พบว่าปรับปรุงให้ทันสมัยและเน้นการสื่อสารเป็นสำคัญ
  3. เสนอกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อความมั่นคงขององค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 1) ด้านองค์กร:เปลี่ยนบทบาทองค์กรจากผู้ผลิตเป็นผู้รับซื้อ ทบทวนปรับโครงสร้างองค์กรและให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาดำเนินการในบางส่วน สร้างความไว้วางใจปรับตัวและรองรับกับความท้าทายด้านสังคมต่อนโยบายสาธารณะและสิ่งแวดล้อม 2) ด้านค่านิยม: มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพนักงานและชุมชน และสร้างภาวะผู้นำให้ผู้บริหารเป็นพลังขับเคลื่อนองค์กร 3) ด้านบุคลากร: ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลกรให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาในพื้นที่เพื่อวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพองค์กรและบุคลากร

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-07-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)