คุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการประหยัดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผู้แต่ง

  • ยุทธจักร งามขจิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
  • ธนภูมิ ชาติดี
  • วัลภา รัศมีโชติ
  • ประสิทธิ์ โสมนัส

คำสำคัญ:

คุณลักษณะส่วนบุคคล, พฤติกรรมผู้บริโภค, ความประหยัด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับพฤติกรรมของการบริโภคและความประหยัดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2. ศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริโภคที่ส่งผลต่อความประหยัดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงและ 3. แนวทางการส่งเสริมความประหยัดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 360 คน ซึ่งได้จากการคำนวณโดยสูตรของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือการวิเคราะห์ถดถอยพฤติกรรม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า1. พฤติกรรมของการบริโภคและความประหยัดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พบว่าพฤติกรรมการบริโภคภาพรวมในระดับมากด้านการเงิน 3.51 ด้านสิ่งของเครื่องใช้ 3.57 ด้านทรัพยากรธรรมชาติ3.62 ด้านการวางแผนการซื้อสินค้า 3.43 ด้านเหตุผลในการซื้อ 3.29 ด้านเกณฑ์ในการเลือกซื้อ 3.62 2. คุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริโภคที่ส่งผลต่อความประหยัดพบว่าพฤติกรรมการบริโภคของอายุผู้บริโภคมากขึ้นส่งผลต่อความประหยัดของนักศึกษาน้อยลงพฤติกรรมการบริโภคของอายุนักศึกษาภาคปกติ มีค่าคงที่แล้ว และได้เพิ่มพฤติกรรมการบริโภคของอายุนักศึกษา 1 หน่วยจะมีผลการมีพฤติกรรมการบริโภคของอายุนักศึกษา .023 หน่วยเพื่อให้ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 3. แนวทางการส่งเสริมความประหยัดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง คือ1. แนวทางการส่งเสริมด้านการใช้จ่ายเงินของนักศึกษาค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายเรื่องการเรียนและยังให้มีการออมเก็บไว้ 2. แนวทางการส่งเสริมด้านสิ่งของเครื่องใช้แนวคิดที่จะนำเศษวัสดุสิ่งเหลือใช้นำมาดัดแปลงใช้ประโยชน์เพื่อประหยัด และจะระมัดระวังสิ่งของเครื่องใช้ รักษาให้ใช้ได้นาน 3.แนวทางการส่งเสริมด้านการวางแผนซื้อสินค้า รายได้ เงินออม เฉลี่ยวันละจำนวนเงินซื้อของใช้มีความจำเป็นมาก ราคาถูกมีอายุการใช้งานได้นานประหยัดมากขึ้น 4.แนวทางส่งเสริมด้านเหตุผลในการซื้อ มีความจำเป็นมากของมีราคาไม่แพงประโยชน์ได้คุ้มค่าใช้ได้หลายงานมีอายุการใช้งานได้นานจะมีความประหยัดค่าใช้จ่ายได้สูง 5.แนวทางส่งเสริมด้านเกณฑ์การเลือกซื้อ ร้านสะดวกซื้อ ซื้อที่มีใบรับประกันมียี่ห้อและคุณภาพ สินค้าประเภทเดียวกันมีคุณภาพสูงราคาต่ำกว่า ดูวัน เดือน ปี การผลิต วันหมดอายุ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2020

How to Cite

งามขจิต ย., ชาติดี ธ., รัศมีโชติ ว., & โสมนัส ป. (2020). คุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการประหยัดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), 93–108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/242910

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)