แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ดนัย อุ่มชัย
  • โชติ บดีรัฐ College of Local Management and Development, Pibulsongkram Rajabhat University, Phitsanulok

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวชุมชน, ศักยภาพการท่องเที่ยว, แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืนและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร จำนวน 407 คน โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 2) หัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก จำนวน 10 คน 3) ผู้ประกอบการในตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก จำนวน 5 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 5 คน และ 4) ประชาชนในตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร จำนวน 20 คน แบ่งเป็น การเก็บข้อมูลโดยรูปแบบการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 10 คน

จากผลการวิจัย ระดับการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน พบว่า อยู่ในระดับมาก จากการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน โดยภาพรวม จำแนกตามอายุ, จำแนกตามระดับการศึกษาสูงสุด, อาชีพปัจจุบัน, และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการจำแนกตามเพศ, สถานภาพการสมรส, และภูมิลำเนาปัจจุบัน พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน พบว่า การสร้างจุดขายจากเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชุมชน การพัฒนาสินค้าและบริการตามความต้องการนักท่องเที่ยว การจัดการด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ และการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน เป็นรูปแบบและแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืนนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)