รูปแบบเชิงระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7

รูปแบบเชิงระบบที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7

ผู้แต่ง

  • Chartnarongsak Suthamdee
  • บุญช่วย กิตติวิชญกุล
  • ภักดี โพธิ์สิงห์
  • ยุภาพร ยุภาส

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, พนักงานพิทักษ์ป่า, รูปแบบเชิงระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่า                 2) ปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่าและ 3) เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบเชิงระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่าเป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานพิทักษ์ป่าสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 ในเขตจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิ เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประเภทมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) คำถามในการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินยีนยันรูปแบบเชิงระบบ สถิติที่ใช้และการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่าที่เป็นผลมาจากรูปแบบเชิงระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านคุณภาพชีวิตด้านร่างกายและสติปัญญามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.22) รองลงมาคือคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและอารมณ์ ( =4.21) คุณภาพชีวิตด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ( =4.15) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือคุณภาพชีวิตด้านปัจจัยในการดำเนินชีวิต ( =3.69) ตามลำดับ
  2.    ปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การพึ่งตนเองในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.18) รองลงมาคือความสนใจและความคิดเห็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =4.17) การกำหนดนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =4.11) การส่งเสริมจากภาคประชาสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =3.97) การตรวจสอบประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =3.95) การส่งเสริมจากภาคราชการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =3.93) การนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปปฏิบัติ ( =3.93) การวางแผนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =3.92) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การนำผลการประเมินไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ( =3.86) ตามลำดับ
  3.    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่า โดยรวม (p≤ 0.000) ได้แก่ (1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิต (2) ความคิดเห็นในการพึ่งตนเองในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (3) การวางแผนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (4) การนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปปฏิบัติ (5) การตรวจสอบประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิต (6) การนำผลการประเมินไปปรับปรุงการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น0.733 และสามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่าได้ร้อยละ 52.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมี ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ ± 0.268867

                    4. รูปแบบเชิงระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่า ได้นำปัจจัยนำเข้า (Inputs) และปัจจัยกระบวนการ (Process) ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานพิทักษ์ป่า มาสร้างเพื่อพัฒนาความรู้ สร้างเจตคติและพัฒนาภาวะผู้นำ โดยการประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) มาขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ มีความสอดคล้องกันสูง สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-08-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)