การปกครองท้องถิ่นไทยในยุคพลิกผันการเปลี่ยนแปลง

ผู้แต่ง

  • ศิริวดี วิวิธคุณากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
  • ภักดี โพธิ์สิงห์
  • สัญญา เคณาภูมิ

คำสำคัญ:

การกระจายอำนาจ, การปกครองท้องถิ่นไทย, ยุคพลิกผัน

บทคัดย่อ

            การปกครองท้องถิ่นเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจของการจัดสรรทรัพยากรให้กับท้องถิ่นซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นลักษณะของการจัดทำบริการสาธารณะในท้องถิ่น ภายใต้การผ่องถ่ายอำนาจจากรัฐบาลกลางสู่การตัดสินใจของประชาชน โดยมีเป้าหมายอันแท้จริงคือการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถปกครองตนเอง การเปลี่ยนผ่านการเมืองการปกครองท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในหมวดที่ 14 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมากขึ้นเป็นเหตุผู้เขียนสนใจจะทำการศึกษาวิเคราะห์โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการปกครองท้องถิ่นไทยในยุคพลิกผันการเปลี่ยนแปลง เป็นการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ

            ผลการศึกษา พบว่า การปกครองท้องถิ่นไทยในยุคพลิกผันการเปลี่ยนแปลง จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) การลดอำนาจการควบคุม กำกับ ดูแลจากรัฐส่วนกลาง (2) การสร้างความเป็นพลเมืองเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) การปกครองท้องถิ่นต้องอิสระภายใต้กฎหมายอย่างแท้จริง (4) ลดความเป็นรัฐราชการและเพิ่มอำนาจประชาชน และ (5) การปฏิรูปกระบวนทัศน์การบริหารการปกครองท้องถิ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2020

How to Cite

วิวิธคุณากร ศ., โพธิ์สิงห์ ภ., & เคณาภูมิ ส. (2020). การปกครองท้องถิ่นไทยในยุคพลิกผันการเปลี่ยนแปลง. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), 357–374. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/241794

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)