การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระอนุเทพ สุทฺธิญาโณ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วันชัย สุขตาม
  • จิรายุ ทรัพย์สิน

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, ธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีระเบียบวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 396 คน  ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า

  1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือหลักความคุ้มค่าและหลักความรับผิดชอบ รองลงมา คือ หลักการมีส่วนร่วมและหลักความโปร่งใสและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ หลักนิติธรรมและหลักคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
  2. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพบว่าส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ที่ดำเนินกิจกรรม และโครงการต่าง ๆ โดยชุมชนและเพื่อชุมชน 2) ด้านการให้บริการแก่ประชาชนต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อเสนอแนะ มีจำนวน 7 ด้าน เจ้าหน้าที่พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีความสุภาพในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ 1) ด้านนิติธรรม พบว่า การออกกฎหมายหรือข้อบังคับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีกระบวนการจัดทำประชาพิจารณ์จากทุกฝ่ายในท้องถิ่น อาทิ ข้าราชการประจำประชาชนและกรรมการจากประชาคม 2) ด้านคุณธรรม พบว่า เจ้าหน้าที่หรือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกคนให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสุขสุภาพและไม่เลือกปฏิบัติ มีการรับฟังความคิดเห็นโดยโดยการประชุม ทุกชุมชน                       3) ด้านความโปร่งใส่ พบว่า การจัดซื้อจัดจ้างมีประกาศแจ้งผู้ประกอบการตามขั้นตอนละโครงการต่าง ๆ แจ้งข้อมูลให้ประชาชนรับทราบโดยการประชาสัมพันธ์ 4) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่ามีการเชิญกลุ่มชารการอื่น ๆ เพื่อร่วมตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำแผนพัฒนาท้องถิ่น                          5) ด้านความรับผิดชอบ พบว่า การปริหารด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น เมื่อชุมชนเดือดร้อนก็จะแก้ไขโดยด่วน 6) ด้านความคุ้มค่า พบว่า การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างอยู่กำกัดและงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ                    7) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยภาพรวม พบว่าการบริหารงานในองค์กรมีการให้ใช้หลักธรรมาภิบาลจะทำให้องค์กรมีคุณค่าและประชาชนเห็นความสำคัญในการร่วมมือและสามัคคี

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)