แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อธิมาตร เพิ่มพูน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วันชัย สุขตาม
  • จิรายุ ทรัพย์สิน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, กิจกรรม, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 5 จำนวน 378 ราย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 53 ราย ผลการวิจัย พบว่า

  1. ระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในของกิจกรรมด้านกิจกรรมส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม เป็นด้านที่มีระดับสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.99) รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.96) ด้านกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( = 3.96) ด้านกิจกรรมวิชาการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.92) ตามลำดับ และสุดท้าย คือ ด้านกิจกรรมกีฬาและการส่งเสริมสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.86)
  2. ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ และระดับชั้นปีแตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนนักศึกษาที่มีสังกัดคณะแตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พบว่า มีระบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม ตามปฏิทินกิจกรรมนักศึกษา โดยต้องเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อยร้อยละ 80 ตลอดปีการศึกษา นักศึกษาเลือกลงทะเบียนกิจกรรมที่ตนเองต้องการและสนใจ จัดกิจกรรมไม่ซ้ำซ้อนกับเวลามีการเรียนการสอน มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายรูปแบบ มีเทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและยั่งยืน มีหน่วยงานและบุคลากรทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา และให้ความรู้เรื่องสุขภาพ มีบริการตรวจสุขภาพกับคณาจารย์และนักศึกษา เป็นประจำทุกปี มีอาคาร สถานที่ และอุปกรณ์ที่มีความทันสมัย เพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษา มีกิจกรรมกีฬาและนันทนาการที่หลากหลายรูปแบบ มีสภาพภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยที่พร้อม น้อมนำศาสตร์พระราชา ที่เน้นการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มาผสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อจัดกิจกรรม นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ มีอิสระในการเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีทักษะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รักความเป็นประชาธิปไตย มีทักษะ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ทำงานเป็นทีม สามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี รู้จักการทำงานอย่างเป็นระบบ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลและให้ความสำคัญกับความเสมอภาค เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์ ส่งเสริม วิจัย และประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม ได้ร่วมคิด ร่วมออกแบบ และร่วมนำเสนอศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม และเป็นผู้สืบสาน สานต่อศิลปวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมไว้ รัก หวงแหน และภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่สร้างสรรค์งานที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)