กำเนิดและพัฒนาการของตลาดสด และผู้ค้ารายย่อยในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ เจือจันทร์ Surindra Rajabhat University

คำสำคัญ:

ตลาดสด, อำเภอสังขะ, ผู้ค้ารายย่อย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง กำเนิดและพัฒนาการของตลาดสด และผู้ค้ารายย่อยในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของตลาดสดท้องถิ่นและผู้ค้ารายย่อยในตลาดสดอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ค้ารายย่อยในตลาดสดท้องถิ่น 3) เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาตลาดสดท้องถิ่น โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดตลาดสด คือ 1) การคมนาคม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ 3) ข้อบังคับของราชการ ทั้งนี้ ตลาดสดอำเภอสังขะเกิดขึ้นในช่วงปี 2454 บริเวณสี่แยกซึ่งมีต้นตาล ซึ่งชาวบ้านเรียกตลาดแห่งแรกของอำเภอสังขะว่าตลาดต้นตาล ต่อมาได้ขยับขยายเข้ามาในตัวเมือง ตามการพัฒนาของเมืองรวมทั้งหมด 4 ครั้ง ปัจจุบันตลาดสดอำเภอสังขะตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางเศรษฐกิจของอำเภอ  และอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบลสังขะ

          ด้านการพัฒนาการของผู้ค้า พบว่าผู้ค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประกอบอาชีพทำนามาก่อนและเป็นคนในพื้นที่ สาเหตุที่มาประกอบอาชีพค้าขายเนื่องจากมีรายได้ดีกว่าเดิมและเป็นงานสบาย, ช่วงที่ค้าขายดีคือช่วงเช้าและช่วงเย็น, สินค้าที่ขายส่วนใหญ่เป็นผักสด เนื้อหมู ปลา, โดยได้มาจากผู้ค้าส่งที่มาส่งถึงที่และไปรับมาบ้าง มีกำไรหักค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,531.55 บาท ส่วนการมีห้างสรรพสินค้า ร้านมินิมาร์ท และตลาดนัด ส่งผลกระทบต่อยอดขายที่สินค้าลักษณะใกล้เคียงกัน

          แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาตลาดสดคืออยากให้เน้นด้านสุขลักษณะ โดยเฉพาะความสะอาด การจัดเก็บขยะ และการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้คนมาจับจ่ายในตลาดสดเพิ่มมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)