แบบการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • Sanya Kenaphoom

คำสำคัญ:

แบบการนำเสนอ, การวิเคราะห์, ข้อมูลเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

            ความสามารถในการวิเคราะห์มูลเชิงคุณภาพเป็นศิลปะอย่างหนึ่งทางวิชาการที่จะแยกแยะสิ่งนั้นอยู่ในหมวดหมู่อะไรเป็นอย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนสำคัญหนึ่งของกระบวนการวิจัยโดยหากมีความคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์แล้วก็จะส่งผลให้ผลการวิจัยมีความผิดพลาดไปโดยปริยาย การวิเคราะห์ข้อมูลหมายถึงการจัดระเบียบแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆ ของหลักฐานหรือข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่หรือจำพวกเพื่อให้ได้ตอบตามความมุ่งหมายหรือสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลมีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้น ดังนี้ (1) จัดหรือแยกประเภทข้อมูล (2) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสม และ (3) เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น อย่างไรก็ตามมีคำถามมากมายว่า แบบของการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพสามารถนำเสนอในรูปแบบใดบ้างและอย่างไร บทความนี้ได้นำเสนอแบบการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยเชิงคุณภาพจะนำไปประยุกต์ในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ จากการศึกษาพบว่า แบบการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีดังต่อไปนี้ (1) การวิเคราะห์จำแนกข้อมูล เป็นการจัดหมวดหมู่ประเภทข้อมูลตามลักษณะธรรมชาติของข้อมูล เช่น ชนิด กระบวนการ ลำดับศักดิ์ โครงสร้าง (2) การวิเคราะห์องค์ประกอบ เป็นการบอกส่วนประกอบของข้อมูลใดใดว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่น ส่วนประกอบ องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด ฯลฯ (3) การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุ เป็นการค้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์หรือมีผลต่อกันและกัน เช่น การบอกสาเหตุ ระบุเงื่อนไข การส่งผลของสองสิ่ง ความสัมพันธ์ของสองสิ่ง ความมีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลว ฯลฯ (4) การวิเคราะห์พยากรณ์ เป็นการทำนายสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่าอะไรจะเกิดขึ้นและเป็นอย่างไร (5) การวิเคราะห์ศักยภาพ เป็นบอกถึงขีดความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ฯลฯ (6) การวิเคราะห์ตรวจสอบความรู้ เป็นการประเมินข้อมูลที่เราได้สัมผัสหรือรับรู้มาว่าเป็นความจริงที่แท้จริง ใช่ ไม่ใช่ ดี ไม่ดี ควร ไม่ควร หรือไม่อย่างไร ฯลฯ (7) การวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดหรือทฤษฎีนำทางเป็นการอธิบายหรือเล่าเรื่องโดยการนำแนวคิด ทฤษฎี ตัวแบบอันใดอันหนึ่งมาเป็นเส้นทางการอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (8) การวิเคราะห์หาหลักการ เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามทฤษฎีอะไรหรือหากไม่มีก็สร้างเป็นทฤษฎีใหม่ (9) การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (Benchmarking) เป็นการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเปรียบเทียบกับสิ่งหนึ่งหรือเปรียบเทียบกับตัวแบบมาตรฐานว่าคุณลักษณะมีความแตกต่างกันอย่างไร (10) การวิเคราะห์ระบุประเด็นสำคัญ เป็นการระบุลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Priority) เพื่อใช้นำประเด็นสำคัญหลักมาใช้ประโยชน์ และ (11) การวิเคราะห์เพื่อการสังเคราะห์ เป็นการแยกแยะส่วนประกอบของข้อมูลแล้วนำมาสังเคราะห์หรือสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา อย่างไรก็ตามแบบการนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพนี้เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งที่ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมและประมวลไว้เพื่อใช้เป็นระเบียบวิธีการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)