การบริหารจัดการที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • Nattaphat Sathitpornthanachai

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการที่ดี, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลหนองบัว 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการที่ดีของเทศบาลตำบลหนองบัว และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลหนองบัว ประชากรในการศึกษาวิจัย คือ เทศบาลตำบลหนองบัว โดยได้ทำการวิจัยบุคลากรของเทศบาลตำบลหนองบัว แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ 1. ฝ่ายการเมือง และ 2. ฝ่ายปฏิบัติงาน จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.8995 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอันดับค่าเฉลี่ย สถิติสหสัมพันธ์ สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ และสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

          ปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่ดีในภาพรวม พบว่า มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ หลักความโปร่งใส รองลงมา คือ หลักคุณธรรม และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          ระดับประสิทธิผลของเทศบาลตำบลหนองบัวในภาพรวม พบว่า มีระดับความสำเร็จมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ การพัฒนาองค์การ รองลงมา คือ กระบวนการภายใน และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดหาและการจัดสรรทรัพยากร

          ปัจจัยสำคัญที่สามารถอธิบายประสิทธิผลการบริหารจัดการที่ดีของเทศบาลตำบลหนองบัว ประกอบด้วย หลักความโปร่งใส หลักการบริหารจัดการ หลักความคุ้มค่า และหลักองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยผลของการปรับรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลหนองบัว ได้แก่ หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า หลักองค์กรแห่งการเรียนรู้ และหลักการบริหารจัดการ

          ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควร 1) ให้ความสำคัญในเรื่องการให้บริการสาธารณะและสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน 2) สร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากรควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก 3) กระจายงบประมาณไปยังฝ่ายต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และทั่วถึง 4) ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตามที่กฎหมายกำหนด 5) จัดเตรียมความพร้อมและมีการวางแผนของการใช้งบประมาณในการพัฒนาทั้งในเรื่องของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 6) เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการและกิจกรรมการพัฒนาที่เหมาะสม 7) จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยให้เพียงพอกับความต้องการ

          ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ 1) ควรนำกรอบแนวคิดการบริหารจัดการที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลหนองบัวนี้ไปใช้กับเทศบาลตำบลแห่งอื่น ๆ หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะสูงกว่า 2) ควรมีการศึกษารูปแบบและปัจจัยการบริหารจัดการที่ดีในมิติอื่น ๆ ซึ่งรูปแบบและปัจจัยการบริหารจัดการที่ดีของแต่ละเทศบาลตำบลย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่และความพร้อม 3) ควรมีการประยุกต์ใช้และบูรณาการแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิผลหลาย ๆ แนวคิดมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินและศึกษาประสิทธิผลขององค์การ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019

How to Cite

Sathitpornthanachai, N. (2019). การบริหารจัดการที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(3), 61–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/234303

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)