การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศักยภาพการผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • Thanwarut Jamsai
  • Anon Tungpitukkai

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ศักยภาพการผลิต, ข้าวโพดหวาน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอ ศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพผลผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการศักยภาพการผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กรณีศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรปลูกข้าวข้าวโพดหวาน จำนวน 85 ครัวเรือน และกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 40 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 15 คน ที่เป็นตัวแทนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีทั้ง เชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สถิติและคณิตศาสตร์ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยการพรรณนาความ (Descriptive) และสร้างข้อสรุปผล ผลการศึกษาพบว่า

           1) การบริหารจัดการการผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สภาพบริบทเป็นอำเภอที่มีการปลูกข้าวโพดหวานมากที่สุดในจังหวัด โดยพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ ซึ่งเกษตรกรมีการผลิตตามแนวทางการบริหารจัดการ 4 M ประกอบด้วย (1) วัสดุอุปกรณ์ แบ่งออกเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ และอุปกรณ์ทางการเกษตรขนาดเล็ก และเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม (2) กระบวนการผลิตมี 5 ขั้นตอนได้แก่ การเตรียมดิน การให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การให้น้ำ และการเก็บเกี่ยวผลผลิต สำหรับปัญหาและอุปสรรค ของขั้นตอนการผลิต คือ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ (3) เงินทุน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เงินทุนในครัวเรือนและการกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรฯ และ (4) บุคลากรหรือแรงงานเกษตร ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือน และแรงงานประเภทเครื่องจักร 2) แนวทางการเพิ่มศักยภาพผลผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์การปลูกข้าวโพดหวานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ในการผลิตข้าวโพดหวานเกษตรกรเกษตรกรส่วนใหญ่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตข้าวโพดหวานประกอบด้วย 1) ต้นทุนค่าแรงงาน 2) ต้นทุนค่าวัสดุ และ 3) ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งต้นทุนการผลิตการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรเฉลี่ย 2,943.65 บาท/ไร่/ครัวเรือน/ 1 รอบ และราคาขายข้าวโพดหวานเท่ากับ 3.37 บาท/ฝัก เมื่อคำนวณจุดคุ้มทุน เกษตรกรต้องผลิตข้าวโพดหวานขั้นต่ำเฉลี่ย 795.21 ฝัก/ไร่ โดยกำหนดราคาขายเฉลี่ยตั้งแต่ 2.63 บาท/ฝักขึ้นไปเกษตรกรจึงจะมีผลกำไรจากการผลิตข้าวโพดหวาน และ 3) แนวทางการบริหารจัดการศักยภาพการผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ การผลิตข้าวโพดหวานมีจุดแข็ง (Strength) และโอกาส (Opportunity) สูงมาก เนื่องจากมีสภาพแวดล้อม และเกษตรกรที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต นอกจากนี้ยังมีฐานการรับซื้อสูง กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนามี 3 กลยุทธ์ คือ (1) เพิ่มปริมาณการผลิต (2) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต และ (3) พัฒนาคุณภาพผลผลิต ทั้งนี้มีกลไกสำคัญ 2 กลไก ที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินงานคือ (1) กระบวนการกลุ่ม และ                 (2) กระบวนการเรียนรู้ สำหรับการวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness) และอุปสรรค (Threat) นั้น เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งรับซื้อที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ และเกษตรกรทำการเกษตรแบบครัวเรือนมากกว่าการทำการเกษตรแบบกลุ่ม ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการศักยภาพการผลิตข้าวโพดหวาน ประกอบด้วย 8 แนวทาง ดังนี้ 1) การส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร     2) การจัดทำบัญชีการผลิต 3) การกำหนดราคากลาง 4) การหาตลาดจำหน่ายผลผลิตเพิ่ม 5) จัดตั้งศูนย์การจำหน่ายเมล็ดพันธ์คุณภาพ 6) การสร้างเครือข่ายการผลิตข้าวโพดหวาน 7) การสร้างศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวโพดหวานชุมชนและการแปรรูป และ 8) การจัดทำแปลงสาธิตให้เป็นพื้นที่นำร่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019

How to Cite

Jamsai, T., & Tungpitukkai, A. (2019). การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศักยภาพการผลิตข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 17–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/215660

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)