แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านหว้าน จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • Thanyapong Sararat

คำสำคัญ:

บ้านหว้าน, วัดพระธาตุสุพรรณหงส์, การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, ศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านหว้าน อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่เก่าที่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สามารถนำไปจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อต่อยอดการท่องเที่ยงเชิงนิเวศภายในชุมชน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและยั่งยืนด้วยปัจจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ การทำสนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า การจัดการการท่องเที่ยวของบ้านหว้าน เริ่มต้นใน พ.ศ. 2558 โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเป็นหลัก ด้วยจุดเด่นคือ มีวัดพระธาตุสุพรรณหงส์เป็นศูนย์กลางชุมชน และมีนำวิถีชีวิตวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว เข้าไปร่วมในการท่องเที่ยวของชุมชน แต่ยังขาดข้อมูลด้านองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชุมชน ด้วยความเป็นชุมชนเก่าจึงทำให้มีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สามารถนำไปต่อยอดสู่การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่มีอยู่ก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจชุมชน มีความภูมิใจและธำรงรักษาวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเอาไว้ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีการศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒนาการของพื้นที่ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีในชุมชน นำไปสู่การเรียนรู้และถ่ายทอดให้คนในและนอกชุมชนได้เข้าใจ ภาคภูมิใจ และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ควรมีการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ด้วยการส่งเสริมการรักษา ฟื้นฟู สืบสานวัฒนธรรมชุมชน ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเหมาะสม เช่น ศูนย์ข้อมูลและบริการเล่าเรื่อง ป้ายบอกทาง และควรมีการส่งเสริมการตลาด และการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนส่งเสริมการส่วนร่วมในการบริการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีเอกภาพ เพื่อให้การท่องเที่ยวของบ้านหว้านเกิดความยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)