การพัฒนาหลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านวัฒนธรรมอาเซียน 2) เพื่อสร้างและตรวจ สอบคุณภาพของหลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียน 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียน4)ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้หลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียน มีขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ประชากรได้แก่ นักศึกษา 4,520 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 คน ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียน โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาจำนวน 200 คนขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมและสอดคล้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตอนที่ 3 แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสถิติทดสอบทีและหาค่าสถิติทดสอบที ขั้นตอนที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีสภาพการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียน พบว่า มีองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) เนื้อหาของหลักสูตร 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) ระยะเวลา 7) สื่ออุปกรณ์ 8 )การวัดและประเมินผลและหลักสูตรมีความเหมาะสมในภาพรวมระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 และมีความสอดคล้องระหว่าง 0.50 - 0.80 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร โดยการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมอาเซียนหลังการใช้หลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียนสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรวัฒนธรรมอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการประเมินความพึงพอใจพบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67).